Page 50 -
P. 50
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
50
3) เงินชดเชย (compensation)
เงินชดเชยให้กับเกษตรกรดําเนินการข้อตกลงต่างๆตามสัญญา โดยการชดเชยให้ตามจํานวน
พื้นที่ที่ทําการเกษตร แบ่งออกเป็น 6 ระดับดังนี้
3.1) รับเงินชดเชย 500 บาทต่อไร่ต่อปี
3.2) รับเงินชดเชย 1,000 บาทต่อไร่ต่อปี
3.3) รับเงินชดเชย 2,500 บาทต่อไร่ต่อปี
3.4) รับเงินชดเชย 5,000 บาทต่อไร่ต่อปี
3.5) รับเงินชดเชย 7,500 บาทต่อไร่ ต่อปี
3.6) รับเงินชดเชย 10,000 บาทต่อไร่ ต่อปี
ในการประเมินความเต็มใจรับเพื่อชดเชยจากการที่เกษตรกรต้องเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางการ
เกษตรดังที่กล่าวมาแล้วนั้นจําเป็นต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับการเงิน ในการศึกษา
ครั้งนี้จึงใช้เงินชดเชยเป็นดัชนีทางการเงินในการประเมินความเต็มใจรับ นอกจากนั้นการประเมิน
ต้นทุน-ประสิทธิผลก็จําเป็นที่ต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความเต็มใจรับตํ่าสุด (minimum WTA) ที่เกษตรกร
จะยอมรับได้เพื่อแลกกับการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการเกษตรตามทางเลือกที่โครงการ (payment
scheme) เสนอแนะ การจ่ายเงินชดเชยเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ คุณลักษณะ
นี้จะช่วยในการประเมินความพึงพอใจต่อการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการเกษตรต่างๆที่โครงการเสนอ
ให้ และทราบจํานวนเงินชดเชยที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจ หรือสามารถดึงดูดให้เกษตรกรเข้าร่วม
โครงการได้
4) ระยะเวลาของสัญญาในการจ่ายเงินชดเชย (length of the compensation agreement)
ระยะเวลาของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างโครงการยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตรโดยการ
จ่ายเงินชดเชยเพื่อระบบนิเวศบริการ (payment for ecosystem services) อาจมีบทบาทสําคัญต่อการ
ตัดสินใจของเกษตรกรในพื้นที่ เกษตรกรอาจจะมีความพึงพอใจต่อข้อตกลงระยะสั้นหรือระยะยาว