Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
20
สถานะทางการเงินหลากหลายระดับ (Climate Emergency Institute, 2015) เกษตรกรรายย่อยจะเป็นผู้ที่
จะได้รับผลกระทบมากจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งจากนํ้าท่วม นํ้าแล้ง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความ
เปราะบาง(vulnerability) อันเนื่องมาจากข้อจํากัดต่างๆ เช่น เงินทุน ความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ
รวมถึงมีการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติหรือบริการจากระบบนิเวศ (ecosystem services)สูง เมื่อ
เปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร โดยสามในสี่ของครัวเรือนเกษตรกรที่ทําการ
สํารวจในจังหวัดลําพูนมีรายได้ครัวเรือนจากการเกษตรลดลงอันเนื่องมาจากผลผลิตตกตํ่าเพราะความ
กดดันของสิ่งแวดล้อม (Warner et al., 2013) ดังนั้นกลยุทธ์และนโยบายเกษตรสําหรับเกษตรกรรายย่อย
จึงต้องสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและเพิ่มความยืนหยุ่น(resilience)ในการรองรับ
การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนทางการเกษตรของ
ครัวเรือนและภูมิภาคได้เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในภายภาคหน้า
จังหวัดลําปางเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบนมีพื้นที่ประมาณ 7.8 ล้านไร่ (พื้นที่ใหญ่เป็น
อันดับ 5 ของภาคเหนือ) มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายโดยรวมเป็นพื้นที่แอ่งกระทะล้อมรอบด้วย
ภูเขาสูง พื้นที่ตอนบนของจังหวัด (อําเภอแจ้ห่ม เมืองปาน วังเหนือและงาว) เป็นพื้นที่ราบสูง ภูเขาสูงที่
ทอดตัวจากทิศเหนือไปทิศใต้ มีป่าไม้ปกคลุมซึ่งประกอบไปด้วยไม้มีค่าหลากหลายชนิด พื้นที่
ตอนกลางและตอนล่างเป็นพื้นที่ราบและที่ราบลุ่มแม่นํ้าประกอบด้วยพื้นที่ป่า ทุ่งหญ้า พื้นที่
เกษตรกรรม (สํานักงานจังหวัดลําปาง, 2558) ส่วนอุตสาหกรรมที่โดดเด่นคืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
และอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น อุตสาหกรรมไม้และการแปรรูป อุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร
(สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลําปาง, 2558) ครึ่งหนึ่งของครัวเรือนในจังหวัดลําปางประกอบอาชีพ
การเกษตร (จากข้อมูลปี 2557 พบว่า 1.32 แสนเป็นครัวเรือนเกษตรกรจากครัวเรือนทั้งหมด 2.67 แสน
ครัวเรือน) (สํานักงานเกษตรจังหวัดลําปาง, 2558) พื้นที่ทําการเกษตรกว่า 67 % เป็นพื้นที่เพาะปลูก และ
ที่เหลือเป็นพื้นที่ในการทําการปศุสัตว์และประมง พืชเศรษฐกิจที่สําคัญของจังหวัดลําปางคือ ข้าว
ข้าวโพด อ้อย ลําไย สับปะรด ถั่วเหลือง หอมแดง กระเทียม จากข้อมูลพื้นฐานทางการเกษตรพบว่าปี
เพาะปลูก 2557/58 มีพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งสิ้น 836,236 ไร่ นอกจากจังหวัดลําปางจะมีประชากรที่เป็น
เกษตรกรจํานวนมากแล้วยังเป็นหนึ่งในจังหวัด (กลุ่มภาคเหนือตอนบน: เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลําปาง
ลําพูน) ที่กระทรวงพาณิชย์กําหนดให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เมืองนวัตกรรมเกษตรและ