Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        18





                    เศรษฐกิจในการผลิตผลผลิตทางการเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศหรือการส่งออก และ


                    เป็นตัวแปรที่สําคัญต่อสถานะทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นความสามารถในการปรับตัว

                    และความสามารถพึ่งพิงตนเองของเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่แล้วอยู่ในระดับตํ่าก็ส่งผลต่อความเข้มแข็ง

                    และการยืดหยัดของสังคม(Resilience)ในระดับมหภาคเช่นเดียวกัน แม้ว่าในเชิงนโยบายประเทศไทยมี

                    ความพยายามในการผลักดันนโยบายเกษตรยั่งยืน อาทิ เกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นการเกษตรที่นอกจากจะ

                    เป็นมิตรต่อระบบนิเวศแล้วยังสามารถทําให้ครัวเรือนเกษตรกรพึ่งพิงตนเองได้มากที่สุดทั้งทางด้าน

                    เศรษฐกิจและสังคม นั่นหมายความว่าเกษตรกรมีการจัดการดิน ปลูกพืชหมุนเวียนที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลด

                    การพึ่งพาสารเคมีทางการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ ผลิตอาหารที่มีคุณภาพรวมถึงการใช้

                    แรงงานที่มีอยู่ในหมู่บ้านร่วมกัน แต่นโยบายดังกล่าวก็ยังไม่ประสบความสําเร็จมากนัก การขยายตัว

                    ของผู้ที่ทําเกษตรอินทรย์เป็นไปอย่างช้า การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกเกษตรอินทรีย์ในช่วง 6 ปี (2552-


                    2557) เพียงร้อยละ1.8 (คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ, 2559) นอกจากนั้นยังต้องอาศัย

                    นโยบายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ทํากินของเกษตรกรรายย่อย นโยบายเกี่ยวกับมาตรฐาน

                    การตรวจสอบและการรับรองเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรย์ ฯลฯ ที่มีความซํ้าซ้อน ยุ่งยากของ

                    หลายหน่วยงานไม่เป็น one stop service ไม่ว่าจากภาครัฐ หรือภาคเอกชนทั้งในระดับประเทศและ

                    สากล รวมถึงความสลับซับซ้อนขั้นตอนการดําเนินงาน ราคาสินค้าเกษตรอินทรย์ไม่จูงใจพอสําหรับ

                    เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ส่วนผู้บริโภคก็ไม่ได้ตระหนักให้ความสําคัญถึง

                    ประโยชน์ที่ได้จากผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ช่องทางการตลาดยังมีน้อยและตลาดในประเทศยังขนาดเล็ก

                    (คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ, 2559) ส่วนหนึ่งของปัญหาอาจเนื่องมาจากนโยบายต่างๆ

                    ไม่ได้ถูกผลักดันในทางปฏิบัติอย่างจริงจังในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม หรือการขาดการมีส่วนร่วม

                    ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง (stakeholder) ตั้งแต่ขั้นตอนของการวางแผน โดยการมีส่วนร่วม

                    ในทางปฏิบัติมักจะเป็นการรับฟังผ่านการประชาพิจารณ์ หรือการสัมมนาเชิงปฏิบัติการภายในเวลาอัน


                    จํากัด ซึ่งนั่นอาจจะไม่ได้สะท้อนการมีส่วนร่วมในการวางนโยบายจากรากเหง้าปัญหาทางการเกษตร

                    ในบริบทที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ ปัญหาเหล่านี้สะท้อนถึงนโยบายการเกษตร และการจัดการที่ด้อย

                    ประสิทธิภาพไม่สามารถสร้างความยั่งยืนในระบบการเกษตรของประเทศไทย ดังนั้นการศึกษากรอบ

                    ความเป็นไปได้ของนโยบายและความสนใจของเกษตรกรต่อนโยบายการเกษตรจึงมีความสําคัญอย่าง

                    ยิ่ง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23