Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
17
บทที่ 1 บทนํา
1.1 ที่มาและความสําคัญ/หลักการและเหตุผล
พื้นที่ดินในอดีตได้ถูกเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์โดยมนุษยชาติ พื้นที่ส่วนมากถูกใช้เพื่อ
วัตถุประสงค์ในการผลิตอาหาร โดยเฉพาะในยุคที่มีการปฏิวัติทางการเกษตรนอกจากการขยายพื้นที่
ทางการเกษตรแล้ว ยังปรับเปลี่ยนวิถีการทําการเกษตรไปเป็นแบบเข้มข้นไม่ว่าจะเป็นการนํา
เครื่องจักรกลทางการเกษตรและสารเคมีทางการเกษตรเข้ามาใช้ เนื่องจากความวิตกกังกลเรื่องความ
พอเพียงของแหล่งอาหารสําหรับมนุษยชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มจํานวนขึ้นในอดีตนั่นเอง นอกจากภาค
การเกษตรเป็นแหล่งอุปทานในการผลิตอาหารเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศแล้วยัง
มีความสําคัญในเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศ
เกษตรกรรม และเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สําคัญในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ภาคการเกษตรยัง
เป็นแหล่งที่มาของรายได้หลักของครัวเรือนขนาดเล็กหลายครัวเรือนทั่วประเทศ แต่ทว่าเกษตรรายย่อย
ส่วนใหญ่มีรายได้จากการเกษตรค่อนข้างตํ่า ต้องอาศัยรายได้นอกภาคการเกษตรในการเลี้ยงครอบครัว
และยังมีหนี้สินอยู่มาก (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2553) ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้น
114.6 ล้านไร่ ร้อยละ 25.9 ของครัวเรือนไทยถือครองพื้นที่ทางการเกษตรเฉลี่ยแล้วประมาณ 19.4 ไร่/
ครัวเรือน (สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2556) พื้นที่ทําการเกษตรในประเทศไทยส่วนใหญ่(ร้อยละ 80) อยู่
นอกเขตพื้นที่ชลประทาน (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2555)
วิธีการทําการเกษตรนอกจากจะบ่งบอกถึงปริมาณผลผลิตทางการเกษตรแล้วยังเป็นสิ่งสําคัญใน
การบ่งบอกถึงสถานภาพสิ่งแวดล้อมและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเสื่อม
โทรมของทรัพยากรดิน การปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งนํ้า นอกจากนั้นยังมีการเรียกร้องให้มีการ
ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร การชดเชยความเสียหายของพืชผลอันเนื่องมาจากอุทกภัยให้กับ
เกษตรกรและอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นการจัดการทางการเกษตร อาทิ การจัดการดินและนํ้ามีความสําคัญ
ต่อการผลิตอาหารให้เพียงพอและไม่สร้างความเสื่อมโทรมให้กับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมมากเกินไป
และการจัดการทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับครัวเรือนก็มีความสําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ประเทศไทยมีเกษตรกรรายย่อยจํานวนมากที่ถือได้ว่ามีบทบาทที่สําคัญต่อประเทศไม่ว่าจะเป็นทาง