Page 52 -
P. 52
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์สามารถสร้างแรงจูงใจในการลดการก่อมลพิษ
และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการผลิต ซึ่งท าให้ผลกระทบภายนอกที่เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการ เข้ามา
เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนภายใน โดยผู้ก่อมลพิษต้องมีหน้าที่ในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการสิ่งแวดล้อม
และสามารถใช้ภาษีในการพัฒนาการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และ
กอบกุล รายะนาคร, 2552)
ส านักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ร่วมมือกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ในการจัดท า
ร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกฎหมาย
แม่บทให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม สามารถก าหนดเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ประเภท
ต่างๆ ส าหรับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการจัดท าเป็นพระราชกฤษฎีกา หากหน่วยงานใดมีความ
ประสงค์ที่จะน าเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ประเภทใดไปใช้ตามอ านาจหน้าที่ สามารถเสนอคณะกรรมการ
พิจารณาเพื่อมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจัดท าพระราชกฤษฎีกา ที่ก าหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์นั้นตามพระราชบัญญัติ หรือการจัดตั้งกองทุนภาษีและ
ค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อม ที่เป็นการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม และภาษีค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ เพื่อน าไปใช้ใน
กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การอุดหนุนโครงการที่ควบคุมหรือลดการปล่อยมลพิษ
สนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟู
สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากความเสียหายจากมลพิษ เป็นต้น (มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และกอบกุล รายะนาคร, 2552)
แนวคิดในการจัดท ากฎหมายเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย
1) พระราชกฤษฎีกาภาษีมลพิษทางน้ า
2) พระราชกฤษฎีกามลพิษทางอากาศ
3) พระราชกฤษฎีกาค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์
เครื่องมือเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมตามร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่
1) ภาษีสิ่งแวดล้อม
2) ค่าธรรมเนียมการจัดการ
3) ภาษีและค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์
4) การวางเงินประกันความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
5) การซื้อขายสิทธิการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิทธิการปล่อยมลพิษ
6) การให้เงินอุดหนุน มาตรการสนับสนุน หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ
4.5 การตรวจสอบสารเคมีก าจัดศัตรูพืชตกค้างในผัก
ในส่วนของการตรวจสอบสารเคมีก าจัดศัตรูพืชตกค้างในผักล่าสุด โดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีก าจัด
ศัตรูพืช (Thai-PAN) มีการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ประจ าปี พ.ศ. 2559 เพื่อตรวจวิเคราะห์การตกค้างของ
สารเคมีก าจัดศัตรูพืชแบบ Multi Residue Pesticide Screen (MRPS) และน ามาเปรียบเทียบกับค่า
Maximum Residue Limit (MRL) โดยมีการสุ่มตัวอย่างพืชผัก ได้แก่ กะหล่ าปลี แตงกวา ผักบุ้งจีน มะเขือ
37