Page 56 -
P. 56
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 5
สถานการณ์การจัดการศัตรูพืชของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกผัก
ในบทนี้เป็นการน าเสนอสถานการณ์การจัดการศัตรูพืชของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักในพื้นที่
ศึกษา จังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และราชบุรี ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหา 6 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลพื้นฐานทาง
เศรษฐกิจและสังคม (2) ลักษณะของการเพาะปลูกพืชผักของเกษตรกรตัวอย่าง (3) การจัดการศัตรูพืชของ
เกษตรกรตัวอย่าง (4) ความคิดเห็นและการปฏิบัติตัวในการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตัวอย่าง และ
(5) ผลผลิตและรายได้จากการปลูกพืชผัก และสรุปท้ายบท มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
5.1 ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรตัวอย่าง
จากการลงพื้นที่ส ารวจภาคสนามเกษตรกรผู้ปลูกผักในพื้นที่ศึกษา จ านวน 303 ครัวเรือน
ประกอบด้วยตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดนครปฐมจ านวน 100 ครัวเรือน จังหวัดปทุมธานี 101
ครัวเรือน และจังหวัดราชบุรี 102 ครัวเรือน เมื่อพิจารณาข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนตัวอย่าง พบว่า เกษตรกร
ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.67 และเพศชายร้อยละ 33.33 โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 52 ปี
ซึ่งมีช่วงอายุสูงที่สุดอยู่ระหว่าง 41-50 ปี รองลงมา คือช่วงอายุ 51-60 ปี และช่วงอายุ 61 ปีขึ้นไป ตามล าดับ
กลุ่มตัวอย่างนี้มีช่วงอายุสอดคล้องกับสถิติของส านักงานสถิติแห่งชาติที่พบว่า ประชากรช่วงอายุ 40-59 ปี มี
สัดส่วนการท างานในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 25.7 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 46.3 (ส านักงานสถิติ
แห่งชาติ, 2555) และเมื่อพิจารณาถึงจ านวนปีที่ได้รับการศึกษาของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรทั้ง 3 จังหวัด มี
จ านวนปีที่ได้รับการศึกษาใกล้เคียงกัน โดยในจังหวัดนครปฐม เกษตรกรได้รับการศึกษาเฉลี่ย 6.14 ปี
ปทุมธานี 5.92 ปี และราชบุรี 6.82 ปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในช่วงจ านวน 1-6 ปี (ร้อยละ 72.28)
หรือระดับประถมศึกษา ในขณะที่ลักษณะของครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนขนาดเล็ก
ที่มีสมาชิกในครัวเรือนจ านวน 1-4 คน และมีจ านวนสมาชิกในครัวเรือนที่อยู่ในวัยแรงงาน (ผู้ที่อายุมากกว่า
16 ปี) ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1-4 คน ซึ่งในที่นี้มีการประกอบอาชีพการเกษตรเฉลี่ย 2 คนต่อครัวเรือน และเมื่อ
พิจารณาถึงประสบการณ์ในการปลูกพืชผักของเกษตรกรตัวอย่างพบว่า เกษตรกรตัวอย่างทั้ง 3 จังหวัดมี
ประสบการณ์ในการปลูกพืชผักเฉลี่ยมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของปัทมา เมี่ยงมุกข์
(2558) ที่ท าการศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช และทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรปลูกผัก
ในจังหวัดปทุมธานีพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 50.62 ท าการปลูกผักมาแล้วระหว่าง 11-20 ปี โดยจังหวัด
นครปฐมเกษตรกรตัวอย่างมีประสบการณ์ในการปลูกผักเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งมีประสบการณ์ปลูกผักเฉลี่ย 26.07 ปี
รองลงมาคือจังหวัดราชบุรีจ านวน 20.57 ปี และจังหวัดปทุมธานี 15.79 ปี ตามล าดับ จากการลงส ารวจ
ภาคสนาม พบว่า เกษตรกรตัวอย่างส่วนใหญ่เรียนจบในระดับชั้นประถมศึกษา เมื่อเรียนจบแล้วจะออกมาท า
การเกษตรปลูกพืชผักซึ่งเป็นอาชีพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยเกษตรกรตัวอย่างไม่ได้เปลี่ยนไปท าอาชีพ
อื่นตั้งแต่เรียนจบ จึงท าให้มีประสบการณ์ในการปลูกพืชผักที่ยาวนานมากกว่า 20 ปี (ตารางที่ 5.1) โดยใน
ดั้งเดิมการปลูกผักอยู่ที่ อ าเภอด าเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เกษตรกรน าผักมาส่งขายที่ปากคลองตลาด ต่อมา
41