Page 59 -
P. 59

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       จากพื้นที่ท าการเกษตรของเกษตรกรตัวอย่างจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และราชบุรี  จ านวน 303

               ครัวเรือน พบว่า เกษตรกรตัวอย่างมีพื้นที่การท าการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 7.46  ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งในที่นี้
               ประกอบได้ด้วยพื้นที่ปลูกผักมากถึง ร้อยละ 39.11  โดยเกษตรกรตัวอย่างจังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่การปลูก

               พืชผักเฉลี่ยสูงที่สุด มีจ านวน 5.25 ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลสถิติพื้นที่การปลูกพืชผักเฉลี่ยของ

               จังหวัดปทุมธานีในปี พ.ศ.2557 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.93 ไร่ต่อครัวเรือน (ส านักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี,
               2557) เมื่อพิจารณาพื้นที่ปลูกรองลงมาคือจังหวัดนครปฐม 2.04  ไร่ต่อครัวเรือน และจังหวัดราชบุรี จ านวน

               1.74  ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรตัวอย่างมีพื้นที่ในการเพาะปลูกผักเฉลี่ยจ านวน 3.01  ไร่ต่อ
               ครัวเรือน (ตารางที่ 5.3)


               ตารางที่ 5.3 พื้นที่ท าการเกษตรของเกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกพืชผักที่ท าการศึกษาในจังหวัดนครปฐม
                           ปทุมธานี และราชบุรี ปีการผลิต 2558/59


                           พื้นที่ท าการเกษตรทั้งหมด         พื้นที่ปลูกผัก          สัดส่วนพื้นที่ปลูกผัก
                 จังหวัด
                                (ไร่/ครัวเรือน)             (ไร่/ครัวเรือน)               (ร้อยละ)

               นครปฐม               4.82                        2.04                       42.32

               ปทุมธานี             12.05                       5.24                       43.49
               ราชบุรี              5.52                        1.74                       31.52

                 เฉลี่ย             7.46                        3.01                       39.11



               5.2 การเพาะปลูกพืชผักของเกษตรกรตัวอย่าง


                       เกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกผักที่ท าการศึกษาในจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และราชบุรี พบว่า ในปีการ
               ผลิต 2558/59 มีการปลูกพืชผักจ านวนทั้งสิ้น 33  ชนิด ได้แก่ กระชาย กวางตุ้ง กะเพรา กะหล่ าปลี

               ตาลปัตรฤาษี (ผักก้านจอง) กุยช่าย ขมิ้นขาว ข้าวโพดหวาน ผักโขมสร้อย คะน้า ชะอม ดีปลี ตะไคร้ ตั้งโอ๋
               แตงกวา แตงร้าน ถั่วฝักยาว บวบหอม บวบเหลี่ยม ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักชี ผักบุ้ง ผักสลัด พริก มะเขือ

               เทศสีดา มะเขือเปราะ มะเขือม่วง มะเขือยาว มะระ เรดแรบบิท สะเดา และโหระพา โดยจังหวัดนครปฐมมี

               การเพาะปลูกกะเพรามากที่สุด รองลงมาเป็นกระชาย และคะน้า ตามล าดับ และจังหวัดปทุมธานีส่วนใหญ่มี
               การเพาะปลูกถั่วฝักยาว รองลงมาคือ ตะไคร้ ต่อมาคือ พริกและข้าวโพดหวาน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสถิติชนิด

               ของพืชผักที่ปลูกในจังหวัดปทุมธานี ในปีพ.ศ.  2557  เกษตรกรผู้ปลูกพืชผักในจังหวัดปทุมธานีมีการปลูก
               ถั่วฝักยาวมากที่สุด (ส านักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี, 2557) ขณะที่จังหวัดราชบุรีมีการเพาะปลูกถั่วฝักยาว

               มากที่สุด เช่นเดียวกับจังหวัดปทุมธานี รองลงมาคือ แตงกวา และมะเขือเปราะ ตามล าดับ (ตารางที่ 5.4)











                                                           44
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64