Page 48 -
P. 48

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       4.3.2 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP)

                       การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP เป็นการปฏิบัติเพื่อปูองกัน และลดความเสี่ยงจากอันตราย ที่

               เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

               ปลอดภัย ไม่ท าลายสิ่งแวดล้อม ตรงตามมาตรฐานและเหมาะสมต่อการบริโภคสินค้าเกษตรและอาหาร (กรม
               วิชาการเกษตร, 2558) เกษตรกรที่มีการจัดการตามระบบ GAP  จะมีความรู้และผลิตพืชอย่างมีระบบ ลด

               ต้นทุนการผลิต สามารถปูองกันศัตรูพืชอย่างถูกต้อง ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารเคมี เชื้อโรค และ

               ได้รับการรับรองระบบการผลิตที่เป็นที่ยอมรับ ส่งผลให้เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
               หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมินในการตรวจรับรองฟาร์ม GAP ประกอบไปด้วยข้อก าหนด 8 ประการ คือ

               1)  แหล่งน้ า 2) พื้นที่ปลูก 3) การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร 4) การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผล
               ภายในแปลง 5) การบันทึกข้อมูล 6) การผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช 7) การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้

               ได้ผลิตผลคุณภาพ และ 8) การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว (กรมวิชาการเกษตร, 2553) (ตาราง
               ที่ 4.2)


               ตารางที่ 4.2 หลักเกณฑ์การตรวจประเมินการรับรองฟาร์มการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

                          ข้อก าหนด                                 เกณฑ์ที่ก าหนด

                1. แหล่งน้ า                   แหล่งน้ าไม่มีสภาพแวดล้อมปนเปื้อนวัตถุอันตรายและจุลินทรีย์

                2. พื้นที่ปลูก                 เป็นพื้นที่ที่ไม่มีวัตถุอันตรายและจุลินทรีย์ที่เกิดการตกค้างหรือ
                                               ปนเปื้อน  และไม่เคยเป็นที่ตั้งของ โรงพยาบาล โรงงาน โรงเก็บ

                                               สารเคมี คอกสัตว์ หรือที่ทิ้งขยะ

                3. การใช้วัตถุอันตรายทาง       - ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตตามค าแนะน าหรือฉลากที่ขึ้น
                การเกษตร                       ทะเบียนของกรมวิชาการเกษตร

                                               - ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตราย
                                               - จัดเก็บสารเคมีแยกจากที่พักอาศัย เป็นหมวดหมู่ และมีปูายก ากับ

                                               อย่างชัดเจน

                4. การเก็บรักษาและการขนย้าย    - สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด มีวัสดุรองพื้น อากาศถ่ายเท มีการ
                ผลิตผลภายในแปลง                ปูองกันสัตว์พาหะ

                                               - ระมัดระวังความเสียหายขณะขนย้าย เพื่อปูองกันความบอบช้ า

                                               และสกปรก
                5. การบันทึกข้อมูล             - จดบันทึกข้อมูลส าคัญ ตั้งแต่การเตรียมการปลูก ขั้นตอนการปลูก

                                               การดูแล ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต

                6. การผลิตให้ปลอดภัยจาก        ปูองกันและก าจัดการเข้าท าลายของศัตรูพืชอย่างถูกวิธี
                ศัตรูพืช





                                                           33
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53