Page 45 -
P. 45

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ทะเบียนและจดชื่อการค้าสารเคมีก าจัดศัตรูพืชมากกว่า 27,000 รายการ ซึ่งเป็นอันดับ 1 ของโลก (เครือข่าย

               เตือนภัยสารเคมีก าจัดศัตรูพืช, 2555)  ขณะที่การปรับปรุงพ.ร.บ. จะต้องมีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทุกๆ
               6 ปี หลังการขึ้นทะเบียนสามารถน าเข้าสารเคมีชนิดนั้นได้ทันที แต่ต้องแจ้งการน าเข้าแต่ละครั้งให้หน่วยงานที่

               รับผิดชอบทราบ

                       4.2.2 ยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555-2564


                       ประเทศไทยเริ่มมีการจัดการสารเคมีอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540  โดยการด าเนินการตามแผน
               แม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540-2554) ที่ใช้การพัฒนาความปลอดภัย

               ด้านสารเคมีแห่งชาติเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งเป็นผลให้เกิดการท างานระหว่างหน่วยงานเพิ่มขึ้น และ

               เกิดโครงสร้างกลไกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยด้านสารเคมีขึ้น และแผนแม่บทพัฒนา
               ความปลอดภัยด้านสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2549) มีการทบทวนปรับปรุงและจัดโครงสร้างให้

               เป็นยุทธศาสตร์ที่มีทิศทางยิ่งขึ้น ซึ่งผลการด าเนินงานของแผนฯ นี้ท าให้มีศูนย์ข้อมูลสารเคมีแห่งชาติ แต่ยัง
               ขาดการสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จากหน่วยงานภาคีและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่อมาแผน

               ยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่  3  (พ.ศ. 2550-2554)  เป็นแผนฯ ที่ให้ความส าคัญกับการ
               ขับเคลื่อนการจัดการสารเคมีรายสาขา การจัดการสารเคมีครบวงจร และเชื่อมโยงการพัฒนากลไก

               ภายในประเทศรองรับการด าเนินการตามพันธกรณี ข้อตกลง กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งท าให้เกิด

               กลไกการก ากับเชิงนโยบายระดับชาติ คือ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการ
               สารเคมี และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงแผนยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 4

               (พ.ศ. 2555-2564) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดการสารเคมีของประเทศเป็นระบบ เหมาะกับการพัฒนา

               ระดับประเทศและระดับสากล สามารถเสริมสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ
               และสิ่งแวดล้อม (คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี, 2554)

                       แผนยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2555-2564) มีหลักการและแนวคิด

               ที่ส าคัญโดยการก าหนดกรอบเวลาให้เป็นแผนระยะยาว 10  ปี ที่สามารถทบทวนผลการด าเนินงานทุก 2  ปี
               และส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมี

               เปูาประสงค์ว่า “ภายในปีพ.ศ. 2564  สังคมและสิ่งแวดล้อมปลอดภัยบนพื้นฐานของการจัดการสารเคมีที่มี
               ประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ” เพื่อให้สอดคล้องกับเปูาหมาย

               ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการสารเคมี (Strategic Approach to International Chemicals

               Management:  SAICM)  โดยการวางแผนยุทธศาสตร์มีการขับเคลื่อนการจัดการสารเคมีเป็น 3  ยุทธศาสตร์
               (คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี, 2554) คือ

                       ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาฐานข้อมูล กลไกและเครื่องมือในการจัดการสารเคมีอย่างเป็นระบบครบวงจร
               โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารเคมีให้เป็นระบบฐานข้อมูลกลาง การจัดการสารเคมีที่ครบวงจรโดยการใช้

               เครื่องมือทางกฎหมาย เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เครื่องมือการประเมิน (Assessment)  และการติดตาม

               ประเมินผลเป็นระยะ




                                                           30
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50