Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 4
สถานการณ์การจัดการศัตรูพืชของประเทศไทย
สถานการณ์การจัดการศัตรูพืชในประเทศไทยในบทนี้เป็นภาพรวมของประเทศในระดับมหภาค ซึ่ง
เป็นข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยเนื้อหา 5 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) การจัดการ
ศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมีปูองกันก าจัดศัตรูพืช 2) กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศัตรูพืช
3) นโยบายและมาตรฐานในการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4) เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการ
จัดการศัตรูพืช และ 5) การตรวจสอบสารเคมีก าจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชผัก มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
4.1 การจัดการศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืช
สารเคมีก าจัดศัตรูพืชมีบทบาทส าคัญในภาคการเกษตรของประเทศไทยมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
โดยภาคการเกษตรของไทยยังคงมีแนวโน้มการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติการ
น าเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรประเทศไทย พบว่า มีการน าเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรในปี พ.ศ. 2558
จ านวน 149,458.69 ตัน และมีมูลค่าการน าเข้ารวม 19,301.91 ล้านบาท โดยมีการน าเข้าวัตถุอันตรายทาง
การเกษตรทั้งหมด 257 ชนิด ผ่านผู้แทนจ าหน่ายจ านวน 147 บริษัท เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตวัตถุอันตราย
ที่ประเทศไทยมีการน าเข้ามากที่สุด คือ ประเทศจีน ร้อยละ 73.99 รองลงมาคือ อินเดีย ร้อยละ 5.66
มาเลเซีย ร้อยละ 5.14 ไต้หวัน ร้อยละ 3.60 อิสราเอล ร้อยละ 2.90 อินโดนีเซีย ร้อยละ 1.75 และประเทศ
อื่นๆ ร้อยละ 6.96 (ส านักควบคุมพืชและวัสดุทางการเกษตร, 2558)
ส าหรับแนวโน้มการน าเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ตั้งแต่ปีพ.ศ. พ.ศ. 2553-2558 มีมูลค่าการ
น าเข้าเฉลี่ยมากถึงปีละ 19,000 ล้านบาท และมีปริมาณการน าเข้าเฉลี่ย 132,000 ตัน ซึ่งร้อยละ 70 เป็นสาร
ก าจัดวัชพืช (Herbicide) รองลงมาคือ สารก าจัดแมลง (Insecticide) ร้อยละ 19 สารปูองกันและก าจัดโรคพืช
(Fungicide) ร้อยละ 8 และอื่นๆ เช่น สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สารรมควันพิษ สารก าจัดหอยและ
หอยทาก สารก าจัดไร สารก าจัดหนูและสารก าจัดไส้เดือนฝอย (กรมวิชาการเกษตร, 2557) (ภาพที่ 4.1)
สารเคมีทางการเกษตรที่ใช้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสารเคมีทีมีพิษสูง ซึ่งสารเคมีก าจัดวัชพืชที่ใช้
มากเป็นอันดับแรก คือ ไกลโฟเสท รองลงมาคือ พาราควอต ส่วนสารเคมีก าจัดแมลงที่มีการน าเข้าสูงสุด คือ
คาร์โบฟูรานและเมโทมิล ซึ่งเป็นสารเคมีที่อยู่ในบัญชีวัตถุอันตรายเฝูาระวังของกรมวิชาการ จะเห็นได้ว่า
เกษตรกรในประเทศไทย มีการใช้สารเคมีที่ค่อนข้างรุนแรงและมีความเป็นพิษสูง (เครือข่ายเตือนภัยสารเคมี
ก าจัดศัตรูพืช, 2555)
จากสถานการณ์การน าเข้าและการใช้สารเคมีทางการเกษตรในประเทศไทยที่มีโน้มโน้มสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง ในขณะที่พื้นที่การเพาะปลูกไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เป็นข้อบ่งชี้ว่าเกษตรกรมีการใช้สารเคมีทาง
การเกษตรต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมเคมีทางการเกษตรที่เติบโตขึ้น ท าให้เกษตรกรเข้าถึงสารเคมีได้ง่าย จน
อาจน าไปสู่การใช้เกินจุดเหมาะสม นอกจากนั้น ศัตรูพืชหลายชนิดอาจมีการปรับตัวเพื่อสร้างความต้านทานต่อ
สารเคมีทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชย่อมเพิ่มขึ้นตาม ถึงแม้ว่าสารเคมี
ทางการเกษตรจะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของพืช และยังช่วยลดความเสียหายต่อผลผลิต สามารถเพิ่ม
27