Page 38 -
P. 38
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการใช้วิธีแบบจ าลองทางเลือกได้น าเสนอชุดทางเลือก (Choice Set) เพื่อให้ผู้ตอบแบบ
สัมภาษณ์ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่พึงพอใจมากที่สุด เพื่อน าไปวิเคราะห์มูลค่าของคุณลักษณะในแต่
ละด้านของการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. การก าหนดคุณลักษณะ (Attribute) และระดับ (Level) ของคุณลักษณะ
ในส่วนของการก าหนดคุณลักษณะการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตรงกับ
ความต้องการของเกษตรกร จากผลการระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อยจากเกษตรผู้ปลูกผัก และ
ผู้เชี่ยวชาญ ได้คุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจของการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้
คุณลักษณะการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่น ามาศึกษาโดยวิธีแบบจ าลอง
ทางเลือก ประกอบด้วย 5 คุณลักษณะ คือ 1) ผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และตรารับรอง
การจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ในระยะยาว (ผู้ฉีดพ่น
เกษตรกร และครอบครัว) 3) โอกาสทางการตลาดของผลผลิตที่ได้จากการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม 4) การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และ 5) ค่าใช้จ่าย
ในการผลิตที่เพิ่มขึ้น (บาท/ไร่/รอบการผลิต) (ตารางที่ 3.2) ส่วนการควบคุมศัตรูพืชของเกษตรกรที่ใช้
อยู่ในปัจจุบัน คือการใช้สารเคมีในการจัดการศัตรูพืช จะเป็นส่วนของทางเลือกฐาน (Status Quo) ที่
เกษตรกรด าเนินการอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างคุณลักษณะและระดับของแต่ละคุณลักษณะการจัดการ
ศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังแสดงในตารางที่ 3.2
2. การสร้างชุดทางเลือก (Choice Set)
จากตารางคุณลักษณะและระดับของแต่ละคุณลักษณะการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม สามารถก าหนดรูปแบบทางเลือกทั้งหมดที่สร้างได้เรียกว่า Full Factorial ซึ่งเท่ากับ
ทางเลือก ซึ่งการผสมผสานแบบเต็มรูปแบบจะช่วยท าให้สามารถวิเคราะห์
อิทธิพลตัวแปรที่มีต่อพฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้โดยละเอียด แต่การกระท าด้วยวิธีดังกล่าวจะท า
ให้มีทางเลือกมากเกินกว่าที่ผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนจะสามารถพิจารณาได้ทั้งหมดในเวลาจ ากัด วิธี
หนึ่งที่จะสามารถลดจ านวนสถานการณ์ให้มีจ านวนเหมาะสมยิ่งขึ้นแทนการน าตัวแปรมาผสมผสาน
กันอย่างเต็มรูปแบบ คือ การน าตัวแปรมาผสมผสานกันอย่างไม่เต็มรูปแบบ (Fractional Factorial
Design) วิธีการนี้จะท าให้จ านวนทางเลือกลดลง ดังนั้นเพื่อปูองกันผู้ถูกสัมภาษณ์เกิดความสับสนจึง
ก าหนดให้แต่ละคนท าการตัดสินใจเลือกทางเลือกจ านวน 4 ชุดเลือกทางเลือก (สันติ แสงเลิศไสว,
2549; วชิราภรณ์ ด้วงโสน, 2552; ธนิษฐา ศิริวิรินทรัตน์, 2558) และได้ก าหนดให้รูปแบบ
แบบสอบถามส าหรับการสัมภาษณ์จ านวน 6 รูปแบบ (รูปแบบ A, B, C, D, E, และF) เนื่องจากจะท า
ให้เกิดความหลากหลายของแต่ละชุดทางเลือก ฉนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงได้ทางเลือกทั้งหมด 48
ทางเลือก โดยพิจารณาเลือกทางเลือกที่มีความเหมาะสม และเป็นทางเลือกที่มีเหตุผลตามหลักความ
เป็นจริง
23