Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       ยุทธศาสตร์ที่ 2  พัฒนาศักยภาพและบทบาทในการบริหารจัดการสารเคมีของทุกภาคส่วน  โดยการ

               พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสารเคมี การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อ
               เตรียมพร้อมต่อพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ

                       ยุทธศาสตร์ที่ 3 ลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมี โดยการก าหนดวิธีเพื่อการบรรลุยุทธศาสตร์ 3 วิธี

               คือ (1)  ปูองกันอันตรายจากสารเคมี เช่น ส่งเสริมการเกษตรที่ดี ควบคุมการจ าหน่ายสารเคมี ก าหนดรายชื่อ
               สารเคมีที่มีความเสี่ยงสูง หรือส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น (2) เฝูาระวังและติดตามตรวจสอบผลกระทบ

               และมลพิษจากสารเคมี (3)  จัดท าแผนปฏิบัติการ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและการรักษาเยียวยาและ
               ฟื้นฟู

                       แผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 4 มีการก าหนดกลไกการติดตามประเมินผล โดยอนุกรรมการ 3  คณะ ที่

               แต่งตั้งโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี ได้แก่ คณะอนุกรรมการ
               ประสานนโยบายและแผนการด าเนินงานว่าด้วยการจัดการสารเคมี คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมความ

               ปลอดภัยจากสารเคมีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และคณะอนุกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยและบทบาท
               ประชาชนในการจัดการสารเคมี โดยมีหน่วยงานต่างๆร่วมกันเพื่อผลักดันให้ประชาชนและภาคเอกชน มี

               บทบาทในการด าเนินการด้านการจัดการสารเคมีของประเทศให้มีความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

               การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 4  เป็นการพัฒนาและด าเนินการต่อเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 3
               เพื่อลดช่องว่างและก าหนดกลวิธีเชิงรุก เช่น การจัดตั้งองค์กรกลางในการจัดการสารเคมี หรือ National

               Chemical  Agency  ซึ่งท าให้การจัดการสารเคมีมีความเป็นระบบที่ครบวงจร เพื่อเตรียมรับมือกับพันธกรณี

               และข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยเน้นการจัดการความเสี่ยงจาดสารเคมีเชิงพื้นที่ (คณะกรรมการแห่งชาติว่า
               ด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี, 2554)


               4.3 นโยบายและมาตรการในการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                       จากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการในการจัดการศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อ

               สิ่งแวดล้อม พบว่า มีมาตรการที่เกี่ยวข้องหลักๆอยู่ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน 2)
               การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural: GAP) 3) การก าหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง

               ในผลิตผลเกษตร (Maximum Residue Limits: MRLs) และ 4) ความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) มี
               รายละเอียด ดังนี้


                       4.3.1 การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management: IPM)

                       การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือ IPM  เป็นการเลือกวิธีการควบคุมศัตรูพืชที่มีอยู่แล้ว

               ตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไป มาผสมผสานกัน โดยใช้การรวมวิธีทางชีววิทยา เขตกรรม กายภาพ และการใช้สารเคมีอย่าง
               เหมาะสม เพื่อลดปริมาณศัตรูพืช และลดความเสี่ยงหรือเกิดความเสี่ยงน้อยที่สุดทั้งด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ

               และสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อหลีกเลี่ยงการต้านทางสารเคมีของศัตรูพืช (2) เพื่อ

               รักษาสภาพแวดล้อม (3) เพื่อสุขอนามัยของผู้ผลิต (ส านักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร, 2551)





                                                           31
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51