Page 9 -
P. 9

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               การผลักดันการรวมกลุ่มของเกษตรกร และการให้ความสําคัญกับกลไกที่จะทําให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าตกอยู่กับ

               เกษตรกรต้นทางได้
                       2) ประยุกต์ใช้และปรับแก้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงของ

               ไทย

                       2.1)  ประยุกต์เกณฑ์ใน (ร่าง) พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อใช้ในการกําหนดเงื่อนไขของ
                            ธุรกิจที่จะเข้ามาดําเนินงานด้านการเกษตรในพื้นที่สูง รวมทั้งมีข้อกําหนดและเงื่อนไขที่ชัดเจน

                            เกี่ยวกับการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในพื้นที่ของกิจการเพื่อสังคมที่ดําเนินการ
                            ในพื้นที่สูง

                       2.2)  ใน(ร่าง) พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม ควรกําหนดการกํากับ

                            ดูแลเกษตรพันธะสัญญาในพื้นที่สูงอย่างเฉพาะเจาะจง การสร้างเกณฑ์ที่ชัดเจนในด้าน
                            สิ่งแวดล้อม การแบ่งภาระความเสี่ยงอย่างเป็นธรรมในกรณีผลผลิตเสียหายจากภัยธรรมชาติ

                            หรือโรคระบาด การรับรู้สิทธิ์ของเกษตรกรเกี่ยวกับการทําสัญญา และการสนับสนุนการเข้าถึง
                            ข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันระหว่างบริษัทผู้ว่าจ้างและเกษตรกร

                       2.3)  กําหนดเงื่อนไขและแนวทางการดําเนินธุรกิจที่ชัดเจนให้กับภาคเอกชนหรือธุรกิจที่ต้องการ

                            ลงทุนบนพื้นที่สูงเพื่อลดปัญหาของการฉกฉวยผลประโยชน์จากพื้นที่สูงโดยให้มีการแบ่ง
                            ประเภทของการลงทุนด้านเกษตรที่ชัดเจน และออกแบบเงื่อนไขที่จําเป็นต้องมีสําหรับธุรกิจแต่

                            ละประเภท ให้เป็นไปตามหลักการ “สร้างผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงพอ ลดความเสี่ยง ส่งเสริม

                            ความเข้มแข็งของชุมชน และมีเงื่อนไขรับผิดชอบตรงกับสิ่งแวดล้อม”
                       3) แก้กฎระเบียบในระดับหน่วยงานหรือการทําข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

                       3.1)  พิจารณาแก้ไขกฎระเบียบในการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับการเกษตรในพื้นที่สูง โดยให้
                            พื้นที่ที่ได้ผ่านกระบวนการจับพิกัดพื้นที่ป่าพื้นที่ทํากินที่ถูกต้องแล้วสามารถใช้เอกสารจากการ

                            จับพิกัดร่วมกันในการยื่นขอชดเชยภัยพิบัติได้ และให้มีการกําหนดเกณฑ์ความเสียหายและการ

                            ชดเชยพืชยืนต้นให้แตกต่างจากพืชไร่ โดยเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรใน
                            การเปลี่ยนจากการปลูกพืชไร่เป็นพืชยืนต้นหรือการทําเกษตรในระบบวนเกษตร

                       3.2)  มีมาตรการที่สร้างความชัดเจนในเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่สูง โดยควร
                            สนับสนุนการสร้างข้อตกลงร่วมกันในการใช้ที่ดินระหว่างภาครัฐและประชาชน การจับพิกัด

                            การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้รับการยอมรับร่วมกัน และการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการดูแล

                            และตรวจสอบการใช้พื้นที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การให้สิทธิ์การใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่ควรทําใน
                            ลักษณะการให้สิทธิ์ต่อปัจเจกบุคคล

                       3.3)  สร้างกลไกและให้อํานาจท้องถิ่นในการกําหนดเงื่อนไขข้อบังคับในระดับท้องถิ่นและส่งเสริม

                            การบังคับใช้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ไม่ได้มีกําหนดไว้และไม่ขัดกับกฎหมายอื่น เช่น เงื่อนไข
                            หรือผลกระทบของการลงทุนทางการเกษตรของภาคเอกชน





                                                            vi
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14