Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                        บทคัดย่อ


                       ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงและได้รับความสนใจ

               จากภาคส่วนต่างๆ เป็นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา งานวิจัยหลายฉบับแสดงให้เห็นว่ารายได้จากพืช

               ทางเลือกเป็นปัจจัยสําคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้ลดหรือเลิกการปลูกข้าวโพดเลี้ยง
               สัตว์บนพื้นที่สูง อย่างไรก็ตาม สาเหตุสําคัญประการหนึ่งที่เกษตรกรบนพื้นที่สูงเลือกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือ

               ลักษณะตลาดที่เอื้อต่อเกษตรกรที่อยู่บนพื้นที่สูง ดังนั้น การหาทางออกจากปัญหาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและ

               ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรจึงต้องให้ความสําคัญต่อลักษณะตลาดและรูปแบบธุรกิจที่มารองรับพืช
               ทางเลือกควบคู่กันไป

                       งานวิจัยฉบับนี้ต้องการเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นกับรูปแบบการซื้อขายสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิมของพื้นที่

               สูง ลักษณะรูปแบบธุรกิจต่างๆ เช่น เกษตรพันธะสัญญา การรวมกลุ่มขายผลผลิต การรวมกลุ่มและพัฒนา
               คุณภาพผลผลิต และการรวมกลุ่มเพื่อการแปรรูปผลผลิต ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างรายได้และแก้ไขข้อจํากัดใน

               พื้นที่สูง รวมถึงความสัมพันธ์ของลักษณะเฉพาะรูปแบบธุรกิจนั้นๆ กับตัวแปรที่สะท้อนความยั่งยืนในพื้นที่ทั้ง
               ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าใจถึงจุดเด่นและข้อจํากัดของรูปแบบธุรกิจต่างๆ และเพื่อให้

               สามารถแสดงคุณลักษณะและกลไกสําคัญที่รูปแบบธุรกิจจําเป็นต้องมีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่าง

               ยั่งยืนในพื้นที่สูงได้
                       ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ศึกษาหมู่บ้านที่มีการทําการเกษตรบนพื้นที่สูงและมีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกันไปใน

               จังหวัดน่าน จํานวน 7 หมู่บ้าน เก็บข้อมูลแบบสอบถามรายครัวเรือนจํานวน 146 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึก
               กับเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาในพื้นที่ และนํามาวิเคราะห์ทั้งในเชิงพรรณนาและเชิงสถิติ ผล

               การศึกษาพบว่า เกษตรกรบนพื้นที่สูงในระบบการซื้อขายแบบดั้งเดิมประสบปัญหาหลักคือการขาดอํานาจ

               ต่อรองในการขายผลผลิต ซึ่งเป็นผลมาจากข้อจํากัดในเชิงกายภาพ ข้อจํากัดของเกษตรกร และข้อจํากัดเชิง
               สถาบัน ลักษณะการเกษตรในพื้นที่และรูปแบบธุรกิจทางเลือกต่างๆ มีผลต่อความยั่งยืนที่แตกต่างกันไป เช่น

               เกษตรพันธะสัญญามีส่วนช่วยแก้ปัญหาความผันผวนทางราคาแต่ก็อาจจะส่งผลเสียในด้านสังคมและ

               สิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มเกษตรกรมีบทบาทอย่างมากในการสร้างความเข้มแข็งและเปิดช่องทางการตลาดให้
               ชุมชนมากขึ้น แต่อาจจะไม่ได้เพิ่มอํานาจการต่อรองขึ้นมากนักและยังมีปัญหาความเสี่ยงจากความผันผวนทาง

               ราคา การพัฒนาคุณภาพผลผลิตจะมีส่วนสําคัญในการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตและเป็นกลไกสําคัญ

               ประการหนึ่งที่จะนําไปสู่การดูแลสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เกษตรกรจะต้องหาตลาดที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า
               และมีการควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ การแปรรูปผลผลิตเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิต

               เพิ่มช่องทางในการขายผลผลิตให้หลากหลายมากขึ้น และช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการผลผลิตของ
               ตนเองได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม การแปรรูปจะต้องใช้เงินลงทุน องค์ความรู้ และแรงงานในการดําเนินการที่สูง

               กว่ารูปแบบธุรกิจอื่นๆ ด้วยเช่นกัน การพัฒนารูปแบบธุรกิจต่างๆ จะต้องเข้าใจถึงผลที่แตกต่างกันของรูปแบบ
               ต่างๆ และเลือกให้มีความเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ ผลผลิต และความพร้อมทางสังคม การสนับสนุนเพื่อให้





                                                            ix
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19