Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                              ระยะไกล โอกาสที่เกษตรกรจะถูกกดราคาจากปลายทางโดยใช้เหตุผลของคุณภาพสินค้าจะมี

                              สูง  ส่วนผลผลิตที่สามารถแปรรูปต่อได้นั้น เกษตรกรที่พอจะรวมกลุ่มได้มักมีความต้องการที่
                              จะแปรรูปขั้นต้นเองให้ได้มากที่สุดเพื่อลดปัญหาการขาดอํานาจต่อรอง ความช่วยเหลือสําคัญ

                              คือความรู้และเทคโนโลยีที่ทําให้สามารถรักษาคุณภาพของสินค้าได้ตลอดสายการแปรรูป

                                 ในพื้นที่ที่จุดเด่นทางภูมิศาสตร์แต่เผชิญปัญหาของการผูกขาดโดยพ่อค้าได้ง่ายเพราะ
                              ความห่างไกล จําเป็นที่ต้องหาวิธีหรือเครื่องมือทางการตลาดให้เกษตรกรสร้างอํานาจการ

                              ต่อรองได้ เช่น การได้การรับรองเครื่องบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ landscape labeling  หรือ
                              การดึงตลาดให้เข้าไปใกล้ชุมชน เช่น การให้บริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เสริมด้วย

                              (agrotourism)  การเลือกใช้เครื่องมือการตลาดในลักษณะการรับรองเช่นนี้จําเป็นที่จะต้อง

                              ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เนื่องจากขั้นตอนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการขอรับการ
                              ตรวจสอบ ตลอดจนการปรับพฤติกรรมการผลิตของเกษตรกรให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการ

                              รับรองต้องใช้งบประมาณและทรัพยากรมาก
                          2)  ในพื้นที่ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเลไม่มากพอ หรือหาพืชที่ใช้จุดเด่นของพื้นที่ได้ยาก พืชที่

                              ปลูกมีโอกาสที่จะหาผลผลิตจากที่อื่นทดแทนได้ง่าย ปัญหาการขาดอํานาจต่อรองของ

                              เกษตรกรมาจากสินค้าขาดความพิเศษเมื่อเทียบกับผลผลิตจากที่ราบอื่นๆ ที่เข้าถึงง่ายกว่า
                              การสนับสนุนสามารถเป็นไปได้ 2 วิธี คือ 1)   การพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อเจาะตลาด

                              คุณภาพสูงหรือตลาดพรีเมี่ยมซึ่งจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือด้านความรู้การพัฒนา

                              คุณภาพอย่างถูกต้องและการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อให้ได้ปริมาณเพียงพอและการส่งเสริมให้
                              มีการพัฒนากระบวนการการตรวจสอบในชุมชนเองก่อนส่งสินค้าสู่ตลาดควบคู่ไปด้วย

                              อย่างไรก็ดี เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่สูงส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์ในพื้นที่ทํากิน การช่วยเหลือที่
                              สําคัญลําดับต้นๆ คือหาจุดยอมรับร่วมกันเรื่องสิทธิในการใช้พื้นที่ เนื่องจากประเด็นนี้อาจมี

                              ผลในกําหนดว่าเกษตรกรจะสามารถได้รับการรับรองคุณภาพสินค้าได้หรือไม่  และ 2)  หา

                              กลุ่มลูกค้าหรือเครื่องมือทางการตลาดที่ให้คุณค่าเฉพาะกับพื้นที่ เรื่องราวกระบวนการพัฒนา
                              ในพื้นที่ต้นน้ําอย่างยั่งยืนหรือการแสดงให้เห็นว่าชุมชนช่วยปกป้องพื้นที่ต้นน้ําสามารถสร้าง

                              คุณค่าเฉพาะให้สินค้าต่างๆ ที่ผลิตจากพื้นที่ได้ วิธีนี้นอกจากจะไม่ต้องยึดกับสินค้าชนิดเดียว
                              แล้ว เกษตรกรสามารถกระจายความเสี่ยงสู่การผลิตสินค้าและบริการอย่างอื่นด้วย แต่ชุมชน

                              จําเป็นต้องมีการพัฒนากลไกที่จะควบคุม กํากับดูแลคุณภาพของสินค้าและบริการในพื้นที่ที่

                              อาจมาจากผู้ผลิตหลากหลายกลุ่ม เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือในระยะยาว












                                                            x
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18