Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าลักษณะการเกษตรและรูปแบบธุรกิจบนพื้นที่สูงที่แตกต่างกัน
ส่งผลต่อตัวแปรความยั่งยืนและมีความเหมาะสมกับพื้นที่ที่แตกต่างกันไป การดําเนินธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่
สูงจําเป็นต้องก่อให้เกิดทั้ง “ความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ของเกษตรกร” และ “ความยั่งยืนด้านนิเวศ” โดย
เป็นไปตามหลักการ “สร้างผลตอบแทนต่อไร่สูงพอ ลดความเสี่ยง ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน และกําหนด
เงื่อนไขตรงเพื่อรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม” ผู้วิจัยได้นําเสนอวิธีการหรือเครื่องมือต่างๆ ทั้งจากที่ปรากฏในพื้นที่
สํารวจและพื้นที่อื่นในภาคเหนือของไทยเพื่อให้สามารถดําเนินการตามหลักการทั้ง 4 ได้ เช่น การจัดหาแหล่ง
น้ํา การลดต้นทุน การรวมกลุ่มเกษตรกร การแปรรูป การเพิ่มคุณภาพผลผลิต ต่างช่วยให้เกษตรกรได้
ผลตอบแทนเพียงพอจากการทําเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก การใช้วิธีปลูกพืชหลายชนิดหรือการขายในหลาย
ตลาด การใช้ระบบพันธะสัญญา เพื่อการกระจายความเสี่ยงและสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร การสร้างองค์
ความรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง การใช้เงื่อนไขที่กําหนดจากตลาด ธุรกิจ หรือ
ชุมชนเอง เช่น มาตรฐานรับรองคุณภาพ การจัดสรรการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้
สิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลควบคู่ไปกับการดําเนินธุรกิจ เป็นต้น โดยแต่ละวิธีการหรือเครื่องมือจะมีบทบาทใน
การสร้างความยั่งยืนที่แตกต่างกันไป บางวิธีช่วยเพิ่มผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงมากพอ แต่ไม่สามารถช่วยเรื่อง
การกระจายความเสี่ยงได้ บางวิธีการอาจช่วยสร้างผลลัพธ์ความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ได้ แต่อาจด้อยเรื่องการ
สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม บางวิธีการอาจพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน แต่ไม่สามารถสร้าง
ผลตอบแทนที่เพียงพอหรือสม่ําเสมอได้ หรือไม่สามารถช่วยเรื่องการกระจายความเสี่ยงได้ดังนั้น เพื่อให้หลุด
จากกับดักรูปแบบการซื้อขายแบบดั้งเดิมและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืนตามหลักการทั้งสี่จึงจําเป็นต้อง
ใช้หลายวิธีการประกอบกัน การออกแบบรูปแบบธุรกิจที่มีวิธีการเหล่านี้ผสมกันอยู่อย่างพอเหมาะจะช่วยให้
สร้างความยั่งยืนได้ในด้านความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม (บทที่ 8)
ทั้งนี้ เนื่องจากการเกษตรบนพื้นที่สูงเป็นกิจกรรมที่เกิดบนพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและมีความสําคัญใน
เชิงนิเวศเป็นอย่างมาก การพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูงที่เหมาะสมจะเป็นเครื่องมือสําคัญที่
นําไปสู่การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้อย่างประสบความสําเร็จ นโยบายการเกษตรในพื้นที่สูงจะมีผลกระทบ
ภายนอกต่อสังคม (Social benefits and costs) เข้ามาเกี่ยวข้อง การปล่อยให้การตัดสินใจต่างๆ เป็นไปตาม
กลไกตลาดจะนําไปสู่ความไม่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นผลมาจากความล้มเหลวของกลไกตลาด (Market failures)
ดังนั้น จึงมีความสําคัญยิ่งที่ภาครัฐต้องมีบทบาทในการดําเนินการหรือส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามี
บทบาทเพิ่มเติมเพื่อให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีประสิทธิภาพและนําไปสู่ความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยสรุปผลการศึกษาและเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ และ
ข้อเสนอแนะรายพืช โดยมีรายละเอียดดังนี้ (บทที่ 9)
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ครอบคลุมประเด็น
1) ปรับปรุงแผนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเกษตรของไทยให้ครอบคลุมประเด็นการเกษตรในพื้นที่สูง
โดยให้มีนโยบายหรือแผนเฉพาะในการกํากับดูแลและพัฒนารูปแบบธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูงที่ชัดเจน แยก
ต่างหากจากนโยบายการเกษตรในพื้นที่ราบทั่วไป โดยเฉพาะเป้าหมายในการเพิ่มอํานาจต่อรองให้กับ
เกษตรกรซึ่งเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรในพื้นที่สูง ให้มีการกําหนดแผนระยะยาวด้านการตลาดและ
v