Page 4 -
P. 4

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                        บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)


                       ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าทั้งหมดประมาณ 102.24 ล้านไร่ โดยมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่

               ป่าทั้งหมดอยู่ในภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดน่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ที่เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่สูงกว่า

               ร้อยละ 80 ของพื้นที่จังหวัด และมีประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงทั้งประเทศกว่า 1 ล้านคน พื้นที่ของการตั้ง
               ชุมชนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ํา อยู่ในเขตป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติ โดยเกือบทั้งหมดของประชากรบน

               พื้นที่สูงประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก การทําการเกษตรบนพื้นที่สูงจึงมีความสําคัญต่อทั้งความเป็นอยู่

               ของคนจํานวนมาก รวมทั้งมีความสําคัญต่อระบบนิเวศในประเทศเป็นอย่างสูง
                       ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในประเทศไทยได้ทวีความ

               รุนแรงและได้รับความสนใจจากภาคส่วนต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการขยาย

               พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคเหนือไปบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ําสําคัญในประเทศ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการ
               เพิ่มขึ้นของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์

               ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่ส่งสัญญาณที่ผิดและการบังคับใช้กฎหมายด้านป่าไม้ที่ขาดประสิทธิภาพการปลูก
               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูงนับเป็นสาเหตุสําคัญของปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น การพังทลายของหน้าดิน การ

               สูญเสียแหล่งเก็บกักน้ําตามธรรมชาติ และการปนเปื้อนของสารเคมีในดินและน้ํา ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องในวง

               กว้างถึงความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในพื้นที่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา
                       มีงานวิจัยและการดําเนินงานมากมายในพื้นที่ต่างๆ ที่พยายามหากลไกและมาตรการในการเปลี่ยน

               พฤติกรรมของเกษตรกรให้ลดหรือเลิกการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในที่สูงไปสู่ระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
               และการฟื้นฟูพื้นที่ป่ามากขึ้น งานทั้งหมดบ่งชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรทั้งในแง่ต่างๆ

               เช่น ความเข้าถึงแหล่งอาหาร การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างรายได้จากพืชทางเลือก ล้วนเป็นปัจจัยสําคัญ

               ต่อความสําเร็จของการเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรและนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังพบว่าการที่
               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกทั้งที่ได้ผลตอบแทนน้อยและต้นทุนสูงมากเป็นผลมาจาก

               ลักษณะของพืชที่สามารถปลูกได้ง่าย และที่สําคัญคือระบบตลาดที่มารองรับผลผลิตข้าวโพดสามารถแก้ปัญหา

               ของข้อจํากัดของพื้นที่สูง เช่น ความห่างไกลตลาด ต้นทุนขนส่งสูง ข้อจํากัดด้านน้ํา ข้อจํากัดด้านสิทธิ์ในที่ดิน
               ทํากิน ข้อจํากัดเรื่องผู้รับซื้อ ข้อจํากัดด้านเงินลงทุน ข้อจํากัดด้านความรู้เรื่องพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ เป็นต้น

               ในการหาทางออกหรือแก้ปัญหาวิกฤตป่าต้นน้ําอย่างยั่งยืนจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคํานึงถึงรูปแบบหรือลักษณะ

               การเกษตรและรูปแบบธุรกิจการเกษตรของพืช
                       แต่การหารูปแบบธุรกิจที่สามารถสร้างความยั่งยืนในระยะยาวให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงได้นั้นไม่ใช่เรื่อง

               ง่าย นอกจากรูปแบบธุรกิจนั้นต้องสามารถสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้องให้เกษตรกรแล้ว รูปแบบธุรกิจดังกล่าว
               จะต้องส่งเสริมความยั่งยืนในด้านอื่นๆ และไม่ทําให้ประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านอื่นๆ เสื่อมโทรมลง

               โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่การแย่งชิงทรัพยากรที่ดินเพื่อผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานมีความรุนแรง
               ขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากการลงทุนในภาคเกษตรตั้งต้นของนักลงทุนต่างชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาคแอฟริกา

               เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว) และละตินอเมริกา จนเป็นที่วิตกกังวลว่าการลงทุนใน


                                                            i
   1   2   3   4   5   6   7   8   9