Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คุณภาพสูงได้ การรวมกลุ่มแปรรูปผลผลิต การแปรรูปผลผลิตมีบทบาทหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ
ผลผลิต และสามารถขายผลผลิตของตนเองได้ในตลาดที่หลากหลาย มีช่องทางในการรับความเสี่ยงจากตลาด
สินค้าประเภทต่างๆ มากขึ้น แม้ว่าโดยส่วนใหญ่เกษตรกรยังคงประสบปัญหาความผันผวนของราคาสินค้า
ปลายทาง แต่จะสามารถจัดการได้ดีขึ้นเนื่องจากสินค้าสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นและมีช่องทางในการขาย
สินค้าที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การแปรรูปจะต้องการการลงทุน องค์ความรู้ และแรงงานในการ
ดําเนินการที่สูงกว่าการพัฒนาคุณภาพด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การพัฒนารูปแบบธุรกิจต่างๆ จะต้องมีความเหมาะสม
กับสภาพของพื้นที่ ผลผลิต และความพร้อมทางสังคม การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจจะต้อง
เป็นไปอย่างเหมาะสมเพราะการพัฒนาแต่ละรูปแบบต้องการองค์ประกอบที่จําเป็นที่แตกต่างกันไป(บทที่ 6)
ในภาพรวม ความช่วยเหลือที่เกษตรกรได้รับในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบของการให้องค์ความรู้ การหา
ตลาด และการช่วยเหลือในด้านปัจจัยการผลิต ในขณะที่เกษตรกรยังคงต้องการความช่วยเหลือในด้านการ
ต่อรองราคา องค์ความรู้ และการหาตลาด ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าความช่วยเหลือด้านองค์ความรู้และการหาตลาด
เป็นประเด็นที่มีความสําคัญต่อเกษตรกรค่อนข้างมากและมีการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม การต่อรองราคาผลผลิตให้เกษตรกรได้รับราคาที่สูงขึ้นเป็นประเด็นที่เกษตรกรให้ความสําคัญ
มากที่สุดในขณะที่การดําเนินงานในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบโจทย์นี้มากนัก(บทที่ 6)
การรวมกลุ่มของเกษตรกรสามารถแบ่งโครงสร้างออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มและ
ดําเนินการโดยชาวบ้านเองทั้งหมด และ 2) การดําเนินงานในลักษณะของภาคเอกชน ในกรณีนี้สมาชิก
เกษตรกรในกลุ่มจะทําหน้าที่เพียงแค่ผลิตผลผลิตและส่งให้กับผู้นําหรือคนที่ทําหน้าที่รวบรวมและขาย การ
จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรสามารถทําได้ในหลายลักษณะ เช่น วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ การสนับสนุนของหน่วยงาน
ภายนอกเช่นโครงการขยายผลฯ การรวมกลุ่มของภาคธุรกิจหรือพ่อค้ารายย่อย โดยแต่ละกลุ่มแม้ว่าจะอยู่
ภายใต้รูปแบบหรือชื่อเดียวกันก็ยังมีบทบาทและการดําเนินงานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของผลผลิตและ
ความต้องการของเกษตรกร และกลุ่มลักษณะต่างๆ ก็มีความยืดหยุ่นในกลไกที่จะสามารถดําเนินการตามความ
จําเป็นเฉพาะในแต่ละพื้นที่ได้ การสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรควรให้ความสําคัญกับโครงสร้างและ
บทบาทของกลุ่มมากกว่าที่จะเน้นไปที่การรวมกลุ่มลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นพิเศษ ทั้งนี้ การช่วยเหลือจาก
องค์กรหรือหน่วยงานภายนอกสามารถทําได้ในทั้ง 2 โครงสร้าง คือหน่วยงานอาจจะสนับสนุนให้ชาวบ้านจัดตั้ง
กลุ่มซึ่งดําเนินงานกันเองโดยหน่วยงานแค่สนับสนุนองค์ความรู้และให้คําปรึกษา หรืออาจจะสนับสนุนบุคลากร
และเข้ามาช่วยจัดการและดําเนินงานโดยทําหน้าที่เหมือนผู้นําโดยให้สมาชิกเกษตรกรมีหน้าที่ผลิตตามที่
วางแผนไว้อย่างเดียวโดยไม่ต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือในด้านการบริหารจัดการกลุ่มมากนัก นอกจากนี้
รัฐยังสามารถเข้ามามีบทบาทสนับสนุนให้การแข่งขันระหว่างกลุ่มเป็นไปอย่างเป็นธรรมและคํานึงถึงความ
ยั่งยืนทั้งในแง่ของสังคมและสิ่งแวดล้อม ความเข้มแข็งและความเท่าเทียมของสังคมในระยะยาว โดยควรมีการ
กํากับการดําเนินงานของกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะการลงทุนจากบริษัทขนาดใหญ่ทั้งในและนอกประเทศ
ซึ่งอาจจะส่งผลดีทางเศรษฐกิจต่อเกษตรกร แต่อาจจะส่งผลเสียต่อความเข้มแข็ง สังคม และสิ่งแวดล้อมใน
ระยะยาว(บทที่ 7)
iv