Page 5 -
P. 5

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               การเกษตรบางรูปแบบจะไปทําลายความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนของท้องถิ่นหรือชุมชนผู้รับการลงทุน

               ทั้งนี้ ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนการเกษตรโดยนักลงทุนภายนอก ทําให้บางพื้นที่ของไทยเริ่ม
               ประสบปัญหาการเข้ามาเช่าหรือครอบครองพื้นที่ขนาดใหญ่โดยนักลงทุนต่างชาติเพื่อผลิตผลไม้ส่งกลับไปยัง

               ประเทศของตน การลงทุนในบางกรณีได้เริ่มสร้างปัญหาเรื่องการแย่งน้ําเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคกับ

               เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่และสร้างความกังวลให้กับประชาชนในพื้นที่ในเรื่องผลกระทบจากสารเคมีต่อคนงาน
               ในไร่และสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างบริษัทเอกชนที่ทําเกษตรพันธะสัญญากับเกษตรกรในพื้นที่

                       งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับรูปแบบการซื้อขายสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิมของพื้นที่สูง และ
               ศึกษาลักษณะหรือรูปแบบการเกษตรแบบต่างๆ ได้แก่ การปลูกพืชยืนต้นเชิงเดียว (มะม่วง) การปลูกพืชยืน

               ต้นแบบวนเกษตร (กาแฟ) การปลูกพืชผสมผสานทั้งในและนอกโรงเรือน การปลูกพืชในโรงเรือนเป็นหลัก และ

               การปลูกเมล็ดพันธุ์เกษตร และลักษณะรูปแบบธุรกิจต่างๆ เช่น ระบบดั้งเดิม เกษตรพันธะสัญญา การรวมกลุ่ม
               ขายผลผลิต การรวมกลุ่มและพัฒนาคุณภาพผลผลิต และการรวมกลุ่มเพื่อการแปรรูปผลผลิต ที่ถูกพัฒนาขึ้น

               เพื่อสร้างรายได้และแก้ไขข้อจํากัดในพื้นที่สูง รวมถึงความสัมพันธ์ของลักษณะเฉพาะรูปแบบการเกษตรและ
               รูปแบบธุรกิจกับตัวแปรที่สะท้อนความยั่งยืนในพื้นที่ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าใจถึง

               จุดเด่นและข้อจํากัดของรูปแบบธุรกิจต่างๆ และเพื่อให้สามารถแสดงคุณลักษณะและกลไกสําคัญที่รูปแบบ

               ธุรกิจจําเป็นต้องมีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่สูงได้
                       ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ศึกษาหมู่บ้านที่มีการทําการเกษตรบนพื้นที่สูงและมีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกันไปใน

               7 หมู่บ้าน ใน 6 อําเภอ ในจังหวัดน่าน ได้แก่ บ้านป่ากลาง อ.ปัว บ้านสบเป็ดและบ้านสันเจริญ อ.ท่าวังผา

               บ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง บ้านแม่จริม อ.แม่จริม บ้านโป่งคํา อ.สันติสุข และบ้านถ้ําเวียงแก อ.สองแคว โดยเก็บ
               ข้อมูลแบบสอบถามรายครัวเรือนจํานวน 146 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ

               องค์กรพัฒนาในพื้นที่ ในช่วงปี พ.ศ. 2559 และนํามาวิเคราะห์ทั้งในเชิงพรรณนาและเชิงสถิติผ่านเครื่องมือ
               เศรษฐมิติ และมีการจัดประชุมรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญทั้งในพื้นที่ จ.น่าน และใน

               กรุงเทพฯ

                       ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรบนพื้นที่สูงที่อยู่ในระบบการซื้อขายแบบดั้งเดิมที่เกษตรกรแต่ละรายราย
               แยกกันขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อหรือนําไปขายให้พ่อค้าที่ตลาดรับซื้อ มักจะประสบปัญหาหลักคือ

               การขาดอํานาจต่อรองในการขายผลผลิต ซึ่งเป็นผลมาจากข้อจํากัดในเชิงกายภาพ (ความห่างไกลตลาด น้ําไม่
               เพียงพอ) ข้อจํากัดของเกษตรกร (ความรู้ ข้อมูลตลาด เงินทุน) และข้อจํากัดเชิงสถาบัน (สิทธิ์ที่ดิน กฎหมาย

               ป่าไม้) ทําให้เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกปลูกพืชที่เป็นผลผลิตทั่วไป ไม่มีจุดเด่น เก็บรักษาได้ไม่นาน ในขณะที่มี

               พ่อค้าเข้ามารับซื้อไม่มากนักเนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่งสูง มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อต่อกันหลายช่วง โดยพบว่า
               เกษตรกรมักจะต้องแย่งกันขายผลผลิตในช่วงปลายฤดูกาลและทําให้ราคาผลผลิตตกลง นอกจากนี้ เกษตรกร

               มักจะมีความต้องการที่จะขายผลผลิตของตนเองให้ได้หมด เกษตรกรส่วนใหญ่จึงยอมที่จะขายผลผลิตแบบคละ

               คุณภาพในราคาที่ต่ํากว่าการขายแบบแบ่งคุณภาพ ในขณะเดียวกัน พ่อค้ารับซื้อก็พยายามสร้างอํานาจต่อรอง
               ให้กับตนเองผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การรอซื้อผลผลิตในช่วงที่สามารถกดราคาเกษตรกรได้ หรือการร่วมกัน

               กําหนดราคาระหว่างพ่อค้าเจ้าต่างๆ ที่เข้ามารับซื้อในพื้นที่ การที่เกษตรกรมีอํานาจต่อรองต่ํานี้ ส่งผลให้


                                                            ii
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10