Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       3.4)  พัฒนาการระบบหรือกลไกการให้สินเชื่อที่เหมาะกับการเกษตรในพื้นที่สูงซึ่งต้องเป็นสินเชื่อที่

                            ไม่สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก สินเชื่อที่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่สูงจะต้องเป็น
                            สินเชื่อที่ไม่ผูกกับปริมาณผลผลิต แต่เป็นการให้สินเชื่อที่คํานึงถึงหรือมีเงื่อนไขต่อการรักษา

                            หรืออนุรักษ์ที่ดินหรือสิ่งแวดล้อม หรือการให้เงินสนับสนุนการลงทุนที่มีจุดประสงค์หลักในการ

                            รักษาและฟื้นฟูพื้นที่หรือสิ่งแวดล้อมในพื้นที่


                       ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ ได้แก่
                       1) ปรับปรุงการดําเนินงานของหน่วยงานให้มีความบูรณาการและตอบรับกับปัญหาของพื้นที่มาก

               ยิ่งขึ้น ในแต่ละพื้นที่สูงที่ต้องได้รับการพัฒนาทางการเกษตร ให้มีการกําหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่

               เข้ามาเป็นเจ้าภาพในด้านต่างๆ และให้มีการดําเนินงานร่วมกันตั้งแต่ในการกําหนดทิศทางในการพัฒนาใน
               พื้นที่ การดําเนินงานที่มีการรับรู้และยอมรับอย่างทั่วถึง ไม่ซ้ําซ้อน ไม่ขัดแย้งกันเอง โดยในแต่ละพื้นที่และแต่

               ละด้านอาจจะมีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพแตกต่างกันไป เช่น การจัดการพื้นที่ในเขตอุทยานให้กรมอุทยานฯ
               เป็นเจ้าภาพหลัก และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านเกษตร การปกครอง ท้องถิ่น ทหาร เข้ามามีส่วนร่วม

               รับรู้และร่วมดําเนินการเพื่อให้เกิดการยอมรับ และให้เอกสารที่มีการตกลงร่วมกันนี้สามารถนําไปใช้ดําเนินการ

               ในเรื่องต่างๆ ในหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
                       2) การให้บริการทางการเกษตรเพื่อลดข้อจํากัดของพื้นที่สูง

                       2.1)  ลดข้อจํากัดเชิงโครงสร้าง เช่น การจัดการน้ําในพื้นที่ทํากินรายย่อยให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก

                            ตลอดทั้งปี
                       2.2)  ลดข้อจํากัดด้านการผลิต เช่น นวัตกรรมการนําของเหลือใช้หรือของเหลือจากผลิตในฟาร์ม

                            กลับมาใช้ใหม่ การสนับสนุนการใช้พันธุ์พืชดั้งเดิมที่ทนโรค เกษตรกรสามารถเก็บพันธุ์ไว้ใช้ต่อ
                            ในฤดูกาลหน้า พัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพสินค้าเบื้องต้นที่ชุมชนเข้าถึง

                            ได้ ส่งเสริมระบบตรวจสอบมาตรฐานภายในชุมชนเองแบบ PGS

                       2.3)  ลดข้อจํากัดด้านตลาด เช่น การพัฒนาการให้บริการการขนส่งที่ได้มาตรฐานและติดตาม
                            ตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยรักษาคุณภาพหรือยืดอายุผลผลิตเพื่อ

                            ช่วยลดปัญหาการสูญเสียผลผลิตและปัญหาคุณภาพผลผลิตที่เกิดจากการขนส่ง
                       2.4)  ลดข้อจํากัดเชิงสถาบัน เช่น การร่วมกันจับพิกัดแยกแยะการใช้พื้นที่ร่วมกับชุมชน หาหรือ

                            พัฒนาเครื่องมือการตลาดที่ช่วยรับรองคุณภาพสินค้าจากชุมชนในพื้นที่ที่ถึงแม้จะมีข้อจํากัด

                            เชิงสถาบัน แต่มีบทบาทเฉพาะในเรื่องการดูแลพื้นที่สูง เช่น Land Labeling
                       2.5)  การเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรโดยสนับสนุนองค์ประกอบที่จําเป็นสําหรับ

                            การรวมกลุ่มในลักษณะต่างๆ เช่น ผู้นํา ทักษะการบริหารจัดการกลุ่ม การเชื่อมโยงตลาด การ

                            ลงทุน ปัจจัยการผลิต องค์ความรู้ โดยหน่วยงานสามารถมีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งกลุ่ม
                            เกษตรกรที่ดําเนินการโดยชาวบ้านเองทั้งหมด โดยหน่วยงานสนับสนุนเพียงองค์ความรู้หรือให้





                                                            vii
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15