Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาต่ําและเป็นผู้รับความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาและปริมาณผลผลิต

               ส่งผลให้เกษตรกรไม่ค่อยให้ความสําคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ใช้สารเคมีจํานวนมากและบุกรุกพื้นที่
               ป่าไม้เพื่อให้สามารถผลิตผลผลิตได้มากพอ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มีส่วนทําให้เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปลูกพืชไร่

               เชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป เนื่องจากปลูกง่าย มีการสนับสนุนจากพ่อค้าอย่างมาก และมีตลาด

               แน่นอน (บทที่ 4)
                       ในส่วนของลักษณะการเกษตรพบว่าปัจจัยทางกายภาพและโครงสร้างประชากร เช่น น้ํา ความสูงจาก

               ระดับน้ําทะเล แรงงานเกษตรในครัวเรือน โอกาสทางอาชีพ คือเงื่อนไขสําคัญที่กําหนดรูปแบบการเกษตรใน
               พื้นที่ ในแต่ละลักษณะการเกษตรพบว่า การปลูกไม้ยืนต้นแม้ว่าจะมีรายได้สุทธิต่อไร่ไม่สูง แต่มีรายได้รวม

               ใกล้เคียงกับรูปแบบเกษตรอื่นๆ เพราะมีพื้นที่ปลูกมากกว่า และมีจุดเด่นในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งการใช้

               ที่ดินที่ดีขึ้นและการใช้สารเคมีที่น้อยกว่าพืชอื่นๆ พืชยืนต้นจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีน้ํามากนัก มี
               ขนาดพื้นที่เพาะปลูกใหญ่พอสมควร มีแรงงานเกษตรในครัวเรือนน้อย และเกษตรกรมีทางเลือกในการทํางาน

               อื่นเสริมเนื่องจากใช้แรงงานน้อยกว่าแบบอื่น การปลูกพืชโรงเรือนมีจุดเด่นที่การกระจายกระแสรายได้ดีกว่า
               แต่เกษตรกรโดยส่วนใหญ่มีรายได้รวมต่ําแม้ว่าจะมีรายได้สุทธิต่อไร่สูง เพราะมีพื้นที่ทําโรงเรือนไม่มากแต่ต้อง

               ใช้แรงงานในการดูแลรักษามาก เกษตรกรมีแนวโน้มมีความสุขมากกว่าพืชอื่นๆ และมีการใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลงโดย

               เปลี่ยนไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น การปลูกพืชโรงเรือนเหมาะกับพื้นที่ที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งน้ําได้ ไม่
               จําเป็นต้องมีพื้นที่มาก แต่มีเงินลงทุนหรือเงินช่วยเหลือในช่วงเริ่มต้น มีแรงงานเกษตรในครัวเรือนมากพอ การ

               ปลูกเมล็ดพันธุ์มีรายได้ต่อไร่สูงมาก แต่รายได้รวมปานกลางเนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกน้อย การกระจายรายได้

               ไม่ดีเพราะมีรายได้เพียงปีละ 1-2 ครั้ง มีหนี้สินและการพึ่งพิงเงินทุนภายนอกสูงกว่าพืชอื่นๆ และมีการใช้
               สารเคมีมากกว่าการปลูกพืชยืนต้นและพืชโรงเรือนอย่างชัดเจน (บทที่ 5)

                       การเปรียบเทียบรูปแบบธุรกิจการเกษตรพบว่า แต่ละรูปแบบธุรกิจการเกษตรส่งผลต่อตัวแปรความ
               ยั่งยืนแตกต่างกัน มีข้อดีและข้อจํากัด และองค์ประกอบที่จําเป็นที่แตกต่างกันไป การทําเกษตรแบบพันธะ

               สัญญามีจุดเด่นในการสร้างความมั่นใจกับเกษตรกรในการขายผลผลิต แต่เกษตรกรยังคงมีอํานาจในการต่อรอง

               ต่ํา รวมทั้งไม่ได้มีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม และมักจะต้องใช้สารเคมีจํานวนมากซึ่งจะส่งผลเสีย
               ต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ การรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อขายผลผลิตจะมีบทบาทมากในการช่วยส่งเสริมความ

               เข้มแข็งให้กับเกษตรกรและชุมชน แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าเกษตรกรจะมีอํานาจต่อรองเพิ่มขึ้นมากนัก
               เกษตรกรยังคงต้องรับความเสี่ยงจากความผันผวนทางราคา และไม่มีกลไกการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน

               แม้ว่าการรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิตจะยังไม่สามารถแก้ข้อจํากัดอีกหลายด้านของการเกษตรบนพื้นที่สูง แต่

               นับเป็นรากฐานที่สําคัญในการต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ การรวมกลุ่มนี้จะต้องการทักษะในการ
               บริหารจัดการกลุ่ม การติดต่อเชื่อมโยงตลาด การวางแผนการผลิตของกลุ่ม ซึ่งเป็นทักษะที่เกษตรกรโดยทั่วไป

               ยังขาดอยู่ การรวมกลุ่มที่มีการพัฒนาคุณภาพผลผลิต มีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต การ

               พัฒนาคุณภาพที่เกิดจากการพัฒนากระบวนการผลิตมักจะนําไปสู่การดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป
               อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจําเป็นที่จะต้องหาตลาดที่ต้องการผลผลิตคุณภาพสูงได้จึงจะได้รับราคาที่สูงขึ้น การหา

               ตลาดที่เหมาะสมและการควบคุมคุณภาพของผลผลิตจึงเป็นปัจจัยสําคัญในการพัฒนาไปสู่ผลผลิตที่มี


                                                            iii
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11