Page 80 -
P. 80

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               เมล็ดกาแฟสดจากชาวบ้านในลักษณะประกันราคาคงที่และรับซื้อทั้งหมดที่ปลูก เน้นคุณภาพของเมล็ดเป็น

               หลัก ใช้สารเคมีน้อย ใช้สารบํารุงดินที่ถูกต้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
                       เกษตรกรจะทราบราคารับซื้อล่วงหน้าประมาณ 1 เดือนก่อนการเก็บเกี่ยว ราคารับซื้อขึ้นอยู่กับสาย
                                                                                                91
               พันธุ์กาแฟ เป็นการตกลงแบบไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อถึงช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิต  เกษตรกร

               จะคัดเมล็ดกาแฟสดที่สุกแดงไปขายภายในวันที่เก็บเกี่ยว และได้รับเงินทันทีที่ขาย  แม้ว่าบางครั้งราคารับซื้อ
               ของกิจการจะต่ํากว่าราคารับซื้อที่พ่อค้าอื่นเสนอ แต่เกษตรกรพอใจที่ทราบราคาล่วงหน้าและมั่นใจว่าจะไม่ถูก

               โกง สามารถรับเงินได้ทันที
                       บทบาทของกิจการนี้คือ นําเมล็ดกาแฟสดเข้าสู่กระบวนการแปรรูปทันที โดยกาแฟเชอร์รี่ (cherry)

               จะถูกสีและแช่น้ําเพื่อขัดเมือกเป็นเวลา 1  คืน ให้เป็นเมล็ดกาแฟดิบ/กาแฟกะลา (parchment coffee)

               หลังจากตากกาแฟกะลาจนแห้งสนิท จะนําไปสีอีกครั้งเป็นกาแฟสาร (green coffee bean) ซึ่งจะถูกนําไปคั่ว
               เพื่อขายในลักษณะเมล็ดกาแฟคั่วต่อไป ขั้นตอนการเพิ่มมูลค่าเหล่านี้มีความละเอียดอ่อนและต้องใช้องค์

                                                                                                        92
               ความรู้มากเพื่อให้ได้กาแฟรสชาติดี ต้นทุนผันแปรของการแปรรูปจากเชอร์รี่ให้ได้เมล็ดกาแฟคั่ว 1  กก.
               ประมาณ 400  บาท (ต้นทุนเมล็ดเชอร์รี่ที่รับซื้อรวมกับต้นทุนแรงงาน) ในขณะที่ราคาของเมล็ดกาแฟคั่วสาย

               พันธุ์ catimor  อยู่ที่ 800  บาท และราคาของกาแฟสายพันธุ์พิเศษนั้นสูงถึง 1,200-1,600  บาทต่อ กก.

               มูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการแปรรูปหากไม่รวมต้นทุนเครื่องมืออุปกรณ์จึงจะอาจสูงถึงสามเท่าได้
                       กิจการ Gem forest coffee  ถือว่าเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ําจนถึงปลายน้ํา จึงเสมือนว่า

               ธุรกิจสามารถทํา 2  ระบบควบคู่กันไป โดยใช้ขั้นตอนการคั่วเป็นส่วนที่ทํากําไรและสร้างรายได้ในขณะที่ส่วน

               การรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรเป็นส่วนที่ไม่มุ่งแสวงหากําไร เจ้าของธุรกิจจึงสามารถกําหนดราคาคงที่ให้กับ
               เกษตรกรได้แม้ราคาเมล็ดกาแฟคั่วที่ตลาดปลายทางเปลี่ยนแปลงบ้าง นอกจากนี้กําไรจากส่วนการคั่วกาแฟ

               ส่วนหนึ่งถูกนํากลับมารักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเกษตรกรกิจการสามารถออกแบบช่องทางให้ตนเองมีส่วน
               ในการดูแลสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น แจกสารแร่ธาตุบํารุงดิน 1 กระสอบให้เกษตรกรที่นําเมล็ดกาแฟสดมาขาย

               ถึง 200  กก. และการให้ความรู้ สร้างกําลังใจ และส่งเสริมให้เกษตรกรเห็นค่าของการปลูกเพื่อเน้นคุณภาพ

               เช่น การสนับสนุนถุงดําเพาะกล้าและให้เมล็ดพันธุ์คุณภาพสูงให้เกษตรกรลงมือเพาะพันธุ์เอง การให้กล้าพันธุ์
               ที่ดีที่ให้ผลผลิตดี ทนโรคทําให้เกษตรกรมีกําลังใจในการปลูก ทําอาชีพกาแฟและเปลี่ยนแปลงออกจากการ

               ปลูกขิง
                       ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรส่วนหนึ่งได้พยายามรวมกลุ่มกันเพื่อเพิ่มอํานาจต่อรองทําให้ราคารับซื้อ

               ในพื้นที่สูงขึ้นและพยายามพัฒนาสู่การแปรรูปผลผลิตด้วยตนเอง โดยวางแผนจะจําหน่ายเมล็ดกาแฟคั่วภายใต้

               ชื่อ Coffee the Mong  กลุ่มมุ่งหวังจะคืนกําไรที่ได้จากการเพิ่มมูลค่ากลับให้เกษตรกรให้มากที่สุด ซึ่ง




               91
                 การเก็บเกี่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเมษายนของปีถัดไป เกษตรกรรู้ราคารับซื้อล่วงหน้าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
               92
                 ในการคํานวณอย่างง่าย จากเมล็ดเชอรี่ 10 กก. นํามากะเทาะและตากได้กาแฟกะลา 2 กก.  และเมื่อนําไปลอกเปลือกเป็น
               กาแฟสารและคั่วต่อจะได้เมล็ดกาแฟคั่ว 1.2 กก. ดังนั้นเพื่อให้ได้กาแฟคั่ว 1 กก. ต้องใช้กาแฟกะลา 1.67 กก. ซึ่งมาจากเมล็ด
               เชอรี่ 8.33 กก.

                                                           4-9
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85