Page 85 -
P. 85

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               สหกรณ์ที่เกษตรกรเป็นสมาชิก เกษตรกรแต่ละรายที่เข้าร่วมโครงการมีโรงเรือนขนาด 180 ตร.ม. ประมาณ 1-

               2  โรงเรือน และทําเกษตรผสมผสาน เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ยืนต้น ไปด้วย เกษตรกรแต่ละรายที่ปลูกพืช
               โรงเรือนอาจปลูกพืชต่างชนิดกัน และจํานวนชนิดที่ปลูกอาจไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยแล้วจะผลิตได้ประมาณ 8

               ชนิดหรือ 8  รอบต่อปี การปลูกพืชในโรงเรือนถือเป็นเครื่องมือที่สําคัญอย่างหนึ่งของโครงการขยายผลฯ แม่จ

               ริม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการลดปริมาณสารเคมีที่เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูก ส่งเสริมการอนุรักษ์พื้นที่
               ป่า และลดพื้นที่การปลูกข้าวโพด นอกจากนี้โครงการขยายผลฯ เป็นผู้ประสานกับตลาดสหกรณ์การเกษตรท่า

               วังผาเพื่อรับโควตาการผลิตฟักแฟง (ผักนอกโรงเรือน) มาจัดสรรให้เกษตรกรด้วย
                       โดยรวมแล้ว โครงการขยายผลฯ แม่จริม ทําหน้าที่วางแผนการผลิตตามความต้องการตลาดและความ

               เหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละราย เป็นคนกลางในการรวบรวมสินค้าและจัดหาตลาดให้แก่เกษตรกร โครงการ

               ขยายผลฯ จะเป็นเพียงผู้ติดต่อประสานงานกับพ่อค้าคนกลาง แต่ไม่ได้เป็นผู้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร
                       นอกจากการปลูกผักในโรงเรือนแล้ว มีเกษตรกรที่ปลูกฟักแฟง (ผักนอกโรงเรือนด้วย) และทําเกษตร

               พันธะสัญญาผลิตเมล็ดพันธุ์แตงกวา มะระ แตงโม อีกจํานวนไม่น้อย โดยบางรายเลือกทํากับบริษัทเอกชน แต่
               บางรายก็จะทํากับสหกรณ์การเกษตรท่าวังผา การเข้าถึงน้ําใช้เพื่อการเกษตรเป็นตัวกําหนดชนิดพืชที่ปลูกได้

               ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้เกษตรกรจะมีทักษะปลูกและดูแลพืชหลายชนิดพร้อมๆ กัน เช่น ผักในโรงเรือน ผัก

               นอกโรงเรือน ผลิตเมล็ดพันธุ์ แต่เกษตรกรยังประสบปัญหาเรื่องการหาตลาดเอง และระบบการรวมกลุ่มที่เพิ่ง
               อยู่ในช่วงเริ่มต้น

                       จะเห็นได้ว่ารูปแบบธุรกิจที่เกษตรกรแต่ละรายเลือกจะหลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของพืช

               ที่ปลูก แบ่งโดยสังเขปได้ดังนี้


                       1)  เกษตรพันธะสัญญา
                       -  ขายฟักแฟงกับสหกรณ์การเกษตรท่าวังผา จ.น่าน

                                 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงเป็นผู้สํารวจตลาด ติดต่อสหกรณ์ท่าวังผาซึ่งเป็นผู้รับซื้อ

                          ฟักแฟงรายใหญ่รายเดียว เพื่อจัดสรรให้แต่ละพื้นที่ของโครงการขยายผลฯโครงการขยายผลแม่จ
                          ริมได้รับจัดสรรแผนการผลิตทั้งหมด 6 ไร่ เพื่อมาวางแผนจัดสรรต่อให้เกษตรกร ดังนั้นเกษตรกร

                          แต่ละรายจะมีแผนการผลิตล่วงหน้าชัดเจนว่าต้องผลิตจํานวนเท่าไร เกษตรกรทราบราคารับซื้อ
                          ล่วงหน้า สําหรับผลผลิตทั้งหมดที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพที่กําหนดไว้สหกรณ์ฯ ประกันราคารับซื้อที่ 4

                          บาทต่อ กก. หากเกษตรกรขนส่งไปเอง (หรือ 3.50 บาทหากสหกรณ์มารับซื้อในพื้นที่)  ฟักแฟงที่

                          ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะถูกขายให้พ่อค้าในตลาดทั่วไปซึ่งรับซื้อในราคา 2 บาทต่อ กก. ฟักแฟง
                          เป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ใช้สารเคมีน้อย แต่ราคาค่อนข้างต่ํา เกษตรกรจะมีรายได้ประมาณ

                          3,000  บาทต่อสัปดาห์ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ในกรณีของฟักแฟง โครงการขยายผลฯ ให้เมล็ด

                          พันธุ์และอุดหนุนปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืชผ่านสหกรณ์ของโครงการฯ เพื่อให้เกษตรกรจะสามารถซื้อ
                          หาปัจจัยการผลิตในราคาที่ต่ําลง

                       -  รับจ้างปลูกเมล็ดพันธุ์แตงกวาส่งสหกรณ์การเกษตร อ. ท่าวังผา


                                                           4-14
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90