Page 81 -
P. 81
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วัตถุประสงค์สําคัญ คือ ให้เกษตรกรเห็นว่ารายได้หรือมูลค่าเพิ่มจากการผลิตและแปรรูปกาแฟอย่างจริงจังนั้น
มากพอที่จะทดแทนรายได้จากขิง นอกจากนี้ กาแฟเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีใต้ร่มไม้ การเริ่มปลูกกาแฟใน
พื้นที่ว่างจะทําให้เกษตรกรเห็นความสําคัญของการปลูกป่าไปด้วย
แม้เกษตรกรที่หันมาปลูกกาแฟเริ่มตระหนักถึงผลการเปลี่ยนแปลงในทางบวกที่เกิดขึ้นกับครอบครัว
เช่น ทํางานใกล้บ้านมากขึ้น ปัญหาความแตกแยกในครอบครัวน้อยลง สร้างรายได้จากพื้นที่ทํากินในหมู่บ้าน
โดยไม่ต้องออกไปรับจ้างหางานทํานอกพื้นที่ ใช้สารเคมีน้อยลง อีกทั้งเกษตรกรเริ่มเผชิญปัญหาขาดแคลนที่ดิน
ในการปลูกขิง แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการละทิ้งการปลูกขิงและยังปลูกกาแฟเป็นเพียงรายได้เสริม
เนื่องจากการปลูกกาแฟต้องรอระยะเวลาประมาณ 3 ปี จึงเริ่มให้ผล เกษตรกรยังไม่สามารถจัดสรรเวลาให้กับ
การปลูกและดูแลกาแฟ เนื่องจากต้องเดินทางค่อนข้างไกลไปแปลงขิงที่อยู่ในอีกหมู่บ้านหนึ่งและช่วงเก็บเกี่ยว
ขิงก็เป็นช่วงเดียวกันกับการเก็บเกี่ยวกาแฟในขณะที่ขิงให้ผลตอบแทนสูงกว่ากาแฟมาก ทําให้การเปลี่ยนผ่านสู่
การผลิตกาแฟคุณภาพเป็นอาชีพหลักยังทําได้ช้า
4.1.2.2 เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟหมู่บ้านสันเจริญและวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสวนกาแฟสวนยา
หลวง ตําบลผาทอง อําเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
บ้านสันเจริญ ตั้งอยู่ในตําบลผาทอง อําเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน พื้นที่อยู่ในระดับสูงกว่าน้ําทะเล
800-1,000 เมตร ลักษณะเด่นของพื้นที่คือ ความสูงอากาศ เหมาะกับการปลูกกาแฟ ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็น
ชาวเขาเผ่าเมี่ยน รายได้หลักของประชาชนมาจากการปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า สายพันธุ์ catimor เกษตรกรมี
รายได้เสริมจาก พืชไร่ ผัก ฝ้าย ลิ้นจี่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการเก็บของป่า บ้านสันเจริญมีพื้นที่ป่าชุมชน
3,000 ไร่ มีพื้นที่ทํากินทั้งหมด 7,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟ 4,000 ไร่ (เปลี่ยนจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มา
เป็นกาแฟได้ประมาณ 1,000 ไร่) โดยเฉลี่ยเกษตรกรมีที่ปลูกกาแฟประมาณ 5 ไร่ต่อครัวเรือน อย่างไรก็ดี ใน
พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดิมซึ่งมักอยู่สูงจากระดับน้ําทะเลประมาณ 500 เมตร ซึ่งไม่เหมาะกับการปลูก
พันธุ์อราบิก้า เกษตรกรจึงปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าแทน ซึ่งเป็นพันธุ์นี้ที่มีปลูกในหลายพื้นที่ของไทย หาซื้อได้
93
ง่ายและเกษตรกรได้ราคารับซื้อที่ต่ํากว่าของพันธุ์อราบิก้ามาก
เกษตรกรในพื้นที่เริ่มปลูกกาแฟและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการปลูกฝิ่นตั้งแต่ปี 2532 แต่เดิมขาย
เมล็ดกาแฟสดให้กับพ่อค้าต่างถิ่นที่มารับซื้อในพื้นที่ และประสบปัญหาถูกกดราคามาตลอด ทําให้เกิดการ
รวมกลุ่มกันของเกษตรกรเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มอํานาจต่อรองในปี 2547 และก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจเพื่อ
การแปรรูปกาแฟขึ้นในปี 2548 โดยมีหน้าที่หลักคือแปรรูปจากเมล็ดกาแฟเชอร์รี่เป็นกาแฟสารและเมล็ด
กาแฟคั่ว จัดหาตลาดให้แก่สมาชิก และบริหารจัดการผลกําไรให้แก่สมาชิก การปลูกกาแฟกลายเป็นอาชีพหลัก
ของชาวบ้านสร้างรายได้ประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ทั้งหมด ต้นทุนของการปลูกกาแฟไม่สูงมากคิดเป็น
ร้อยละ 35-40 ของรายได้จากการขายเมล็ดกาแฟ กาแฟเริ่มให้ผลผลิตหลังปีที่ 3 และต้นสามารถให้ผลได้นาน
ถึง 10 ปี ต้นทุนส่วนใหญ่ของเกษตรกรจะเป็นต้นทุนแรงงานช่วงเก็บเกี่ยวเมล็ดเชอร์รี่
93
ราคารับซื้อเมล็ดเชอร์รี่ประมาณ 8-9 บาทต่อ กก.
4-10