Page 76 -
P. 76

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       ในพื้นที่มีการบริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชน ทําแนวกันไฟ โดยจะแบ่งเขตพื้นที่ป่าชุมชนอย่างชัดเจน

               และเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากประปาภูเขาในการทําการเกษตร อย่างไรก็ดี เกษตรกรที่ยังต้องการ
               ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะยังรักษาพื้นที่ไร่ข้าวโพดของตนที่อยู่ในเขตหมู่บ้านอื่นหรือเช่าที่เพื่อปลูกเพิ่มใน

               หมู่บ้านอื่น


                       4.1.1.2 เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ตําบลป่ากลาง

                              อําเภอปัว จังหวัดน่าน
                       ตําบลป่ากลางตั้งอยู่ในเขตอําเภอปัว จังหวัดน่าน ลักษณะทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาเตี้ยๆประชากร

               ประกอบด้วยชาติพันธุ์ ม้ง เมี่ยนและลัวะ ปัจจุบันพื้นที่ทํากินส่วนใหญ่เป็นไร่มะม่วง มีพื้นที่ปลูกมะม่วงรวม

               ประมาณ 5,000  ไร่ พื้นที่ที่ใช้เพาะปลูกค่อนข้างจํากัดไม่เกิน 7  ไร่ต่อครัวเรือน พื้นที่ป่ากลางนี้มีจุดเด่นคือ
                                                                                73
               สภาพอากาศเหมาะกับการปลูกมะม่วง ได้มะม่วงผิวสวย ใช้ต้นทุนเฉลี่ยต่ํา และผลผลิตมีคุณภาพสูงกว่า
               บริเวณอื่นๆ ของจังหวัด อย่างไรก็ตาม ข้อจํากัดของพื้นที่ คือ เกษตรกรใช้น้ําจากอ่างเก็บน้ําในการปลูกมะม่วง
               และประสบปัญหาขาดแคลนน้ําในฤดูแล้งทําให้มีปัญหาการให้ปุ๋ยต้นมะม่วง

                                                         74
                       เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในย่านบ้านป่ากลาง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
                       กลุ่มที่ 1: กลุ่มวิสาหกิจปลูกเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ
                       กลุ่มวิสาหกิจเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2552  ปัจจุบันเกษตรกรในกลุ่มนี้มี 23  ราย คิดเป็นร้อยละ 5  ของ

               เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงทั้งหมดในพื้นที่ ผลผลิตที่ได้ร้อยละ 90 เป็นมะม่วงพันธุ์น้ําดอกไม้ อีกร้อยละ 10  เป็น

               มะม่วงพันธุ์สีทอง เขียวเสวย พิมเสนมัน มหาชนก และโชคอนันต์ เกษตรกรเกือบทั้งหมดไม่ประกอบอาชีพอื่น
               และไม่ปลูกข้าวไร่ไว้บริโภคเองเนื่องจากต้องทุ่มเทเวลาให้กับการดูแลต้นมะม่วง ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย จึงเป็นกลุ่ม

               เกษตรกรที่ลดหรือเลิกการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างชัดเจนสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจฯ ส่วนใหญ่มีพื้นที่
               เพาะปลูกประมาณ 4-5 ไร่ มีรายได้สุทธิจากการปลูกมะม่วงประมาณ 20,000 บาทต่อไร่ต่อปี

                       เกษตรกรขายมะม่วงน้ําดอกไม้และสีทองในตลาดส่งออกเป็นหลัก ส่วนผลผลิตมะม่วงพันธุ์อื่นขายใน

               ตลาดในประเทศให้พ่อค้าทั่วไป การเจรจาตกลงราคากับบริษัทส่งออกหลักซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่รับซื้อ
                                  75
               เพื่อส่งออกตลาดญี่ปุ่น จะเริ่มก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 2  เดือนดังนั้นเกษตรกรจะทราบราคาก่อนแต่ไม่มี
               สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการกําหนดปริมาณผลผลิตที่ต้องการรับซื้อ ปริมาณรับซื้อจะขึ้นอยู่กับความ
               ต้องการของบริษัท ณ เวลาซื้อขาย บริษัทรับซื้อช่วยให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพสินค้าแก่

               เกษตรกรบ้าง ผลผลิตที่ส่งออกได้จะต้องผ่านมาตรฐาน GAP  ปราศจากสารเคมีตกค้าง หากตรวจพบสาร
                                                                                                        76
               ตกค้าง สินค้าจะถูกตีกลับทั้งหมด สมาชิกในกลุ่มจะช่วยกันดูแลและคัดเกรดสินค้าก่อนส่งให้ผู้รับซื้อ




               73
                 ประมาณ 5 บาทต่อ กก.
               74
                 หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่สํารวจ คือ หมู่ 1 บ้านน้ําเปิน หมู่ 3 บ้านค้างฮ้อ หมู่ 5 บ้านตาหลวง และหมู่ 6 บ้านสวนทราย
               75 บริษัท Taniyama

               76
                 ที่ผ่านมา อัตราสินค้าที่ถูกตีกลับประมาณร้อยละ 5-10 ของที่ส่งไป
                                                           4-5
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81