Page 75 -
P. 75

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               4.1 ระบบธุรกิจการเกษตรของแต่ละพื้นที่แบ่งตามระบบเกษตรกรรม

                       4.1.1  ระบบเกษตรกรรม: การปลูกมะม่วงเชิงเดี่ยว
                       4.1.1.1 เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง บ้านสบเป็ด ตําบลผาตอ อําเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

                       พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านสบเป็ดเป็นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาล้อมรอบ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง

               เริ่มการปลูกมะม่วงอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงประมาณ 300  ครัวเรือน
               โดยรายได้ประมาณร้อยละ 80 ของแต่ละครัวเรือนมาจากการทําสวนมะม่วง ที่เหลือเป็นรายได้จากไร่ข้าวโพด

               ทําสวนลําไย ลิ้นจี่ มีแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกมะม่วงประมาณ 15  ไร่ต่อครัวเรือนโดยเฉลี่ย สร้างรายได้
                                      70
               ประมาณ 35,000ต่อไร่ต่อปี  พันธุ์ที่ปลูกมากในพื้นที่ คือ น้ําดอกไม้ เขียวเสวย โชคอนันต์ ระยะเวลาการเก็บ
               เกี่ยวมะม่วงขายจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายมิถุนายนและเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม

                       เกษตรกรขายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อผลผลิตในพื้นที่ตามฤดูกาลและในช่วงที่มีปริมาณ
               มะม่วงเก็บเกี่ยวได้สูงที่สุด (ปลายพฤษภาคมหรือต้นมิถุนายน) จะมีพ่อค้ามารอรับซื้อมะม่วงในพื้นที่จํานวน

               มาก และมักจะอยู่ในพื้นที่ประมาณ 10 วัน การซื้อขายไม่มีการทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ราคารับซื้อที่ได้
               นอกจากจะขึ้นกับคุณภาพผลผลิตแล้วยังขึ้นกับช่วงเวลาที่ขาย พ่อค้าคนกลางแต่ละรายจะรับซื้อผ่านนายหน้า

               ในสังกัดตนซึ่งเป็นเกษตรกรในพื้นที่ นายหน้าจะเป็นผู้ติดต่อเกษตรกร โดยตกลงกับเกษตรกรล่วงหน้าหนึ่งวัน
                                                                                                     71
               เกษตรกรที่ตกลงกับนายหน้าไปแล้วอาจเปลี่ยนใจได้หากเห็นว่าราคารับซื้อที่พ่อค้ารายอื่นให้สูงกว่า  ใน
               กระบวนการส่งมอบสินค้าให้พ่อค้า เกษตรกรจะนํามะม่วงที่เก็บได้ทั้งหมดมาขายรวมคละเกรดกัน ขายในวัน

               เดียวกับที่เก็บเกี่ยว พ่อค้าจะรับหน้าที่แยกเกรด ในช่วงสองถึงสามวันแรกของฤดูกาลขายที่มีพ่อค้ามารอซื้อ

               จํานวนมากเกษตรกรมักจะยังไม่ขายแต่จะเสี่ยงรอราคาที่อาจสูงขึ้นในช่วงกลาง แต่เมื่อใดก็ตามที่พ่อค้าเริ่มแจ้ง
               ว่ามะม่วงที่ตนรับซื้อไว้มีปริมาณมากพอแล้ว ราคาจะเริ่มตก เกษตรกรจะแข่งกันขายมะม่วงให้พ่อค้าก่อนที่

               มะม่วงจะสุกงอมเกินไปแม้จะทราบว่าถูกกดราคาก็จําเป็นต้องขาย นอกจากนี้ พ่อค้าจากต่างถิ่นที่มารับซื้อใน
               พื้นที่อาจมีพฤติกรรมร่วมกันกําหนดราคา (ฮั้วราคา) เพื่อดึงราคารับซื้อให้ต่ําลงได้ แม้ปัจจุบันจะมีความ

               พยายามตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เพื่อเพิ่มอํานาจต่อรองให้กับเกษตรกร แต่ชุมชนยังไม่เข้มแข็งมากพอ

               เกษตรกรยังอยู่ในภาวะกดดันและแย่งกันขาย จึงยังไม่สามารถรวมกลุ่มและก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนได้ เกษตรกร
               ในพื้นที่ยังพึ่งการใช้สารเคมีในการปลูกค่อนข้างมากและถือเป็นต้นทุนสําคัญของการปลูก การขาดปัจจัยทุน

               และความรู้ทําให้เกษตรกรบางรายหันไปใช้สารเคมีราคาถูก เกิดการตกค้างเป็นเวลานานและเป็นอันตราย
               นอกจากนี้การที่เกษตรกรพึ่งการปลูกมะม่วงเป็นอาชีพหลัก เมื่อต้องเผชิญปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น พายุ

                                                                     72
               ลูกเห็บ มะม่วงมีตําหนิเกือบทั้งหมดทําให้ได้ราคารับซื้อต่ํามาก  เกษตรกรประสบปัญหาไม่สามารถชําระ
               หนี้สินที่กู้จาก ธกส.ได้




               70
                 ปลูกไร่ละประมาณ 25 ต้น
               71
                 นายหน้าได้ค่าตอบแทนจากการรวบรวมประมาณ 50 สต.ต่อ กก.
               72 เช่น จากราคารับซื้อปกติของมะม่วงน้ําดอกไม้เบอร์ 4 และมะม่วงเขียวเสวยเบอร์ 5 ที่ 25 บาทต่อกก.โดยเฉลี่ย เมื่อมะม่วงมี

               ตําหนิเนื่องจากพายุลูกเห็บ ราคาขายในลักษณะเหมารวมเหลือ 5 บาทต่อ กก.

                                                           4-4
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80