Page 72 -
P. 72
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 4
ระบบและกลไกการซื้อขายในพื้นที่
เนื้อหาในบทนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกกล่าวถึงระบบการเกษตรและกลไกการซื้อขายหรือ
รูปแบบธุรกิจในแต่ละพื้นที่สํารวจเพื่อแสดงให้เห็นภาพความหลากหลายของรูปแบบการเกษตรและรูปแบบ
ธุรกิจที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ต้องการหันออกจากหรือได้หันออกจากกระแสการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว ส่วนที่สองจะ
สรุปปัญหาร่วมที่เกษตรกรมักประสบจากการทําการเกษตรบนที่สูงไม่ว่าจะเลือกรูปแบบการเกษตรใดก็ตาม
โดยความรุนแรงของปัญหาจะขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจหรือกลไกการซื้อขายที่เกษตรกรเลือก
จากการศึกษาข้อมูลเอกสารและสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานใน
พื้นที่ ผู้วิจัยสามารถกําหนดพื้นที่ทั้งหมด 9 พื้นที่เพื่อลงสํารวจเบื้องต้นในระหว่างวันที่ 9-13 มกราคม 2559
โดยวัตถุประสงค์ของการลงสํารวจครั้งแรก (preliminary survey) คือเพื่อเลือกพื้นที่เหมาะสมสําหรับ
ทําการศึกษาในเชิงลึกต่อไป พื้นที่ทั้ง 9 พื้นที่ที่ลงสํารวจในครั้งแรก มีดังนี้
1) โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริมต.แม่จริม อ.แม่จริม จ.น่าน
2) โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคําต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน
3) โครงการขยายผลโครงการหลวงบ้านถ้ําเวียงแกต.นาไร่หลวง อ.สองแคว จ.น่าน
4) บ้านมณีพฤกษ์ ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
5) บ้านสันเจริญต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน
6) บ้านป่ากลางต.ป่ากลางอ.ปัว จ.น่าน
7) บ้านสบเป็ดต.ผาตอ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
8) บ้านศรีนาป่าน-ตาแวน ต.เรือง อ.เมือง จ.น่าน
9) บ้านแคว้ง ต. พระพุทธบาท อ.เชียงกลาง จ.น่าน
โดยเกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่ลาดชันหรือพื้นที่ชันเชิงเขา และส่วนใหญ่ได้เผชิญการเปลี่ยนแปลงการใช้
พื้นที่จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวสู่การหาทางเลือกที่เหมาะสมกับพื้นที่สูง พื้นที่เขาหรือเชิงเขามากขึ้น ตําแหน่ง
ของพื้นที่เหล่านี้ปรากฏในรูปที่ 4.1
4-1