Page 77 -
P. 77

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               เกษตรกรรับภาระค่าขนส่งไปยังบริษัทและสมาชิกในกลุ่มที่ขายมะม่วงได้จะแบ่งเงินเข้ากลุ่มประมาณ 3  บาท

               ต่อ กก. มะม่วงที่เหลือจากความต้องการซื้อของบริษัทส่งออกจะขายให้ตลาดในประเทศ แม้อาจได้ราคาที่สูง
               กว่าของเกษตรกรที่อยู่นอกกลุ่มวิสาหกิจเนื่องจากพ่อค้ารับซื้อยอมรับในคุณภาพของสินค้าที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป
                                                                  77
               แต่ก็ถือว่าเป็นราคาที่ต่ํากว่าราคารับซื้อของบริษัทส่งออกมาก  อย่างไรก็ดี แม้ตลาดส่งออกจะเป็นความหวัง

               สําคัญด้านราคาของเกษตรกร แต่การผ่านบริษัทรับซื้อรายใหญ่เพียงรายเดียวทําให้กลุ่มต้องรับความเสี่ยงจาก
               การแข่งขันในตลาดต่างประเทศโดยตรง ปัจจุบัน กลุ่มวิสาหกิจฯ เริ่มปลูกมะม่วงสีทองซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เป็นที่

               ต้องการของตลาดจีนและไต้หวันเพิ่มมากขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง นอกจากนี้ สิ่งสําคัญที่เกษตรกรได้จากการ
               รวมกลุ่ม คือ ความรู้และให้คําแนะนําซึ่งกันและกัน กลุ่มให้ความช่วยเหลือสมาชิกสนับสนุนกระดาษคาร์บอน

               ห่อมะม่วง โฟม ตะกร้า/ลังมะม่วงให้สมาชิกเพื่อลดต้นทุน นอกจากจากนี้ กลุ่มเป็นผู้ซื้อปัจจัยการผลิตเช่น ปุ๋ย

               ยาปราบศัตรูพืช เกษตรกรสามารถเชื่อปัจจัยการผลิตจากกลุ่มไปก่อนได้แล้วคืนเงินในภายหลัง อย่างไรก็ดี
               สําหรับสมาชิกในกลุ่ม น้ําเป็นปัจจัยที่สําคัญและมีผลต่อการปลูกให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ สมาชิกจะต้องลงทุนกับ

               เครื่องสูบน้ํา ปั้มน้ํา ท่อน้ํา แต่เกือบร้อยละ 70  ของสมาชิกในกลุ่มขาดแคลนน้ําเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งและ
               พี่งพาการซื้อน้ําใช้ในการเกษตร

                       กลุ่มที่ 2: ปลูกเพื่อส่งขายในตลาดทั่วไป (traditional market)

                       เกษตรกรที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มวิสาหกิจส่วนใหญ่เลือกปลูกมะม่วงหลายๆ พันธุ์ เพื่อกระจายความเสี่ยงทั้ง
               ทางราคาและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในแต่ละปี และขายมะม่วงในตลาดทั่วไปในประเทศไม่เน้นคุณภาพสูง ไม่

               ต้องผ่านการรับรอง GAP เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ทํากินประมาณ 7 ไร่ ได้ผลตอบแทนสุทธิทั้งหมดประมาณ
                                 78
               10,000  บาทต่อไร่  ซึ่งต่ํากว่ารายได้ของเกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจมาก ทําให้เกษตรกรจําเป็นต้องพึ่งการ
               ประกอบอาชีพอื่นเพื่อเสริมรายได้และมักปลูกข้าวไร่ พ่อค้าคนกลางที่มารอรับซื้อจะตกลงราคากับเกษตรกรใน
                                                                     79
               ลักษณะวันต่อวันหรืออาจผ่านนายหน้าซึ่งเป็นเกษตรกรในพื้นที่  ราคาที่เกษตรกรได้รับจะอิงราคาตลาดใน
               ช่วงเวลาที่ขาย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พ่อค้าสามารถรอซื้อช่วงมะม่วงใกล้สุก เกษตรกรมักแข่งกันขายให้พ่อค้าด้วย

               กังวลว่าจะขายได้ไม่หมด ราคาจึงตกอย่างรวดเร็ว การรวมกลุ่มกันขายเพื่อเพิ่มอํานาจการต่อรองยังเป็นไปได้

               ยากและขัดกับระบบนายหน้าซึ่งเป็นระบบเดิมในพื้นที่ เกษตรกรกลุ่มนี้ให้ความสําคัญกับการเก็บรักษาเคล็ด
                                                                           80
               ลับการดูแลต้นมะม่วงของตน และยังใช้ยาปราบศัตรูพืชในปริมาณมาก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ผลิตตาม
               มาตรฐาน GAP







               77
                 ปริมาณที่บริษัทต้องการมีเพียงร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะขายในตลาดทั่วไปซึ่งราคาต่ํากว่ามาก หาก
               บริษัทส่งออกรับซื้อมะม่วงน้ําดอกไม้ขนาดใหญ่ในราคา 65 บาท/กก. ตลาดในประเทศจะรับซื้อที่ประมาณ 25-32 บาท
               78
                 เกษตรกรลงทุนตั้งแต่ปลูกจนมะม่วงให้ผลในปีแรกประมาณ 20,000 บาทต่อไร่ต่อปี
               79
                 ราคารับซื้อประมาณ 25-32 บาทต่อ กก. (ปี 2559) หากขายมะม่วงคละเกรดเหมารวม ได้ราคาประมาณ 20 บาทต่อ กก.
               นายหน้าจะได้ค่าติดต่อลูกค้าให้พ่อค้าคนกลางในอัตรา 50 สต. ต่อ กก. ในบางช่วงอาจมีพ่อค้ามารับซื้อถึง 40-50 ราย
               80
                 ต้นมะม่วงของเกษตรกรกลุ่มนี้จะมีพุ่มหนาเนื่องจากเกษตรกรไม่ได้เน้นการตัดแต่งกิ่ง ทําให้ต้องใช้ยาในปริมาณมาก
                                                           4-6
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82