Page 74 -
P. 74

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       ในการสํารวจ ผู้วิจัยได้พูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นําเกษตรกรในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจ

               ถึงลักษณะทางกายภาพ ลักษณะรูปแบบธุรกิจ ข้อตกลงและความเสี่ยงต่างๆ ในการทําธุรกิจในพื้นที่ รวมทั้ง
               ข้อมูลอื่นๆ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับรูปแบบธุรกิจและการประกอบอาชีพของเกษตรกรในพื้นที่

                       ด้วยความหลากหลายของผลผลิตและลักษณะธุรกิจการเกษตรที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เกณฑ์การเลือกพื้นที่

               ที่ใช้ควรเปิดช่องให้ผู้วิจัยสามารถเปรียบเทียบรูปแบบธุรกิจที่ต่างกันบนฐานระบบเกษตรกรรมที่ใกล้เคียงหรือ
               เหมือนกันได้ เพื่อที่จะเห็นผลที่เกิดจากรูปแบบธุรกิจที่ต่างกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พืชเดียวกันจากพื้นที่

               เดียวกันแต่มีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน หรือพืชเดียวกันจากต่างพื้นที่และมีรูปแบบธุรกิจต่างกัน  และเห็น
               ลักษณะการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ รวมถึงกลไกที่เกษตรกรที่อยู่ในตลาดต่างรูปแบบกันเลือกใช้เพื่อ

               สร้างความมั่นคงให้ฐานรายได้ของตนและลดความเสี่ยง
                                                                                                    68
                       จากเกณฑ์หลักข้างต้น ผู้วิจัยสามารถคัดเลือกพื้นที่เพื่อการลงสํารวจเชิงลึกได้ทั้งหมด 7  พื้นที่  โดย
               แบ่งตามลักษณะของระบบเกษตรกรรมได้ดังนี้

                       1)  ระบบปลูกไม้ยืนต้นเชิงเดี่ยว ได้แก่ บ้านป่ากลาง และบ้านสบเป็ด ซึ่งปลูกมะม่วงเป็นหลัก
                       2)  ระบบวนเกษตร ได้แก่ บ้านมณีพฤกษ์บ้านสันเจริญซึ่งปลูกกาแฟใต้ร่มไม้เป็นหลัก

                       3)  ระบบเกษตรผักโรงเรือน ได้แก่ พื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริมโครงการขยายผล

                          โครงการหลวงโป่งคําโครงการขยายผลโครงการหลวงบ้านถ้ําเวียงแก
                       สําหรับรูปแบบธุรกิจที่มาเป็นตัวกลางเชื่อมต่อผลผลิตจากเกษตรกรไปยังตลาดหรือผู้รับซื้อแตกต่าง
                               69
               กันไปในแต่ละพื้นที่  บางพื้นที่อาจมีรูปแบบธุรกิจเด่นเพียงรูปแบบเดียว เช่น รูปแบบดั้งเดิม แต่บางพื้นที่อาจ

               รูปแบบธุรกิจที่โดดเด่นหลายแบบ เช่น แบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับแบบกลุ่มย่อยที่เชื่อมกับตลาดปลายทาง
               โดยตรง เป็นต้น

                       เนื้อหาในบทที่ 4 นี้จะแสดงถึงระบบธุรกิจในพื้นที่ที่มาต่อยอดระบบเกษตรกรรมที่เกษตรกรเลือก
               ตลอดจนวิธีที่เกษตรกรใช้ในการเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ลดความเสี่ยง เพิ่มอํานาจการต่อรองให้กับกลุ่มของตน

               การแสดงผลการศึกษาในบทนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นการอธิบายรูปแบบธุรกิจ โดยแบ่งตาม

               ระบบเกษตรกรรมที่ต่างกัน 3  กลุ่มได้แก่ 1)  กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงซึ่งมีลักษณะการเกษตรแบบปลูกพืช
               ยืนต้นเชิงเดี่ยว 2)   กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟซึ่งมีลักษณะการปลูกที่พึ่งพาต้นไม้ใหญ่หรือเป็นมิตรกับ

               สิ่งแวดล้อม 3)  กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักโรงเรือน และในส่วนที่สอง ผู้วิจัยจะเปรียบเทียบรูปแบบธุรกิจที่
               แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ กลไกต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือน่าจะส่งผลโดยตรงต่อผลตอบแทนเกษตรกร ปัญหาที่

               เกิดขึ้นในมุมมองของเกษตรกร







               68
                 ตารางเปรียบเทียบลักษณะกายภาพของพื้นที่ที่ลงสํารวจเบื้องต้นทั้ง 9 พื้นที่ ปรากฏในภาคผนวก 1
               69
                 รูปแบบธุรกิจ ในที่นี้ได้แก่ การซื้อขายแบบดั้งเดิมที่มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อตรงจากไร่นาหรือเกษตรกรนําสินค้าไปขายที่
               ตลาด รูปแบบเกษตรพันธะสัญญา รูปแบบที่เกษตรรวมกลุ่มขายหรือพัฒนาคุณภาพหรือแปรรูปร่วมกันผ่านโครงการวิสาหกิจ
               ชุมชนหรือสหกรณ์ รูปแบบกลุ่มขนาดเล็กติดต่อตรงกับปลายทาง

                                                           4-3
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79