Page 71 -
P. 71
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กล่าวโดยสรุป สาระสําคัญของบทนี้คือ การสังเคราะห์องค์ความรู้จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดง
ถึงลักษณะรูปแบบธุรกิจที่ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีอํานาจตัดสินใจกับการผลิตและการดําเนินธุรกิจ ซึ่งมีทั้ง
ที่เป็นเกษตรพันธะสัญญา การร่วมทุน การรวมกลุ่มของเกษตรกร การสร้างเครือข่ายตามโซ่อุปทาน ธุรกิจ
กิจการเพื่อสังคม และแสดงให้เห็นข้อดีและข้อจํากัดของแต่ละรูปแบบธุรกิจ รวมถึงลักษณะธุรกิจสินค้าเกษตร
ที่มาพร้อมกับโครงการที่มุ่งพัฒนาพื้นที่สูงแบบองค์รวมของไทย
ในขณะที่วรรณกรรมเกี่ยวกับความยั่งยืนบนพื้นที่สูงจะสามารถให้คําตอบได้ค่อนข้างชัดเจนว่ารูปแบบ
การเกษตรใดจะช่วยสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่สูงได้ (บทที่ 2) แต่เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบธุรกิจที่จะมารองรับ
และจะสามารถช่วยสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่สูงได้นั้น เราไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่ารูปแบบธุรกิจใด
จะเหมาะสมที่สุด (บทที่ 3) ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะในทางปฏิบัติ เกษตรกรและบริษัทธุรกิจที่เข้ามาเกี่ยวข้องได้
สร้างรูปแบบเฉพาะของตน ผสมผสานลักษณะจากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน (hybrid) เพื่อให้เหมาะกับบริบท
เฉพาะของพื้นที่ รูปแบบธุรกิจที่มารองรับนอกจากจะขึ้นอยู่กับลักษณะพืช ผลผลิต ความห่างไกล ซึ่งไป
กําหนดลักษณะตลาด การแข่งขันและอํานาจการต่อรองของเกษตรกรแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยเชิงสถาบัน เช่น
ความเข้มแข็งของชุมชนและผู้นําในแต่ละพื้นที่ด้วย
อย่างไรก็ดี ประเด็นสําคัญที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมในบทนี้ คือ การต่อภาพข้อจํากัดและความ
ท้าทายต่างๆ ที่เกษตรกรบนที่สูงต้องเผชิญเข้ากับลักษณะเด่นของแต่ละรูปแบบธุรกิจที่จะช่วยแก้ไขข้อจํากัด
แต่ละด้านได้ โดยมีแกนหลักคือ การแก้ไขข้อจํากัดจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้เกษตรกรในพื้นที่สูง เมื่อยาม
ต้องเผชิญผลกระทบจากภายนอก (shock) หรือแรงกดดันภายใน (stress) ก็สามารถรับมือได้โดยหันกลับไป
หาการรุกพื้นที่ป่าเพื่อการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอีกครั้งหนึ่ง
3-28