Page 84 -
P. 84

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       เกษตรกรที่สังกัดกลุ่มย่อยจะได้รับคําแนะนําและความช่วยเหลือด้านการผลิตจากเจ้าของกลุ่ม ราคา

               รับซื้อที่เสนอโดยกลุ่มย่อยมักจะไม่ต่างกับกลุ่มวิสาหกิจ ขยับขึ้นลงตามสภาพการแข่งขันในพื้นที่ บางกลุ่มสร้าง
               แรงจูงใจในลักษณะของเงินปันผลในขณะที่บางกลุ่มจูงใจด้วยการให้ราคารับซื้อเชอร์รี่สูงกว่ารายอื่น 1-1.50

               บาทต่อกก. โดยเน้นรับซื้อเชอร์รี่ที่สุกพอดีมีคุณภาพเกษตรกรบางรายจะขายให้กลุ่มย่อยของตนอย่างเดียว

               ในขณะที่บางรายจะแบ่งสินค้าส่วนหนึ่งขายให้กับกลุ่มวิสาหกิจ และขายอีกส่วนให้กับกลุ่มย่อย
                       การมีกลุ่มผู้รับซื้อหลายกลุ่มซึ่งเป็นคนในพื้นที่เอง รับซื้อกันเป็นประจําทุกปี ทําให้เกษตรกรในพื้นที่ได้

               ราคารับซื้อที่ค่อนข้างดี เช่น ในปีที่ผ่านมาราคาในพื้นที่เริ่มต้นที่ 20 ต่อ กก. และขยับเพิ่มขึ้นจนถึง 25 บาทต่อ
               กก. เกษตรกรไม่มีพฤติกรรมทุ่มหรือแย่งกันขายให้กับพ่อค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และแต่ละกลุ่มสามารถเลือก

               กวดขันเรื่องคุณภาพและทําตลาดตามที่ตนต้องการอย่างไรก็ดี การทําตลาดกาแฟคุณภาพสูง เน้นจุดเด่นของ

               พื้นที่ (specialty) ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาเนื่องจากสัดส่วนลูกค้าตลาดบนเน้นคุณภาพสูง (premium) ยัง
                    100
               มีน้อย
                       อย่างไรก็ดี แม้การมีกลุ่มย่อยหลายกลุ่มเกิดขึ้นจะช่วยแบ่งเบาภาระของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มี
               ข้อจํากัดด้านกําลังการแปรรูปได้ แต่ปัญหาที่ตามมาคือ การควบคุมคุณภาพให้สม่ําเสมอ กลุ่มวิสาหกิจยัง

               ประสบปัญหาคุณภาพของการแปรรูปที่ยังไม่ได้มาตรฐาน การมีหลายกลุ่มย่อยและบางกลุ่มไม่ได้เน้นการ

               ควบคุมคุณภาพสินค้าอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของกลุ่มอื่นได้
                       4.1.3  ระบบเกษตรกรรม: การปลูกพืชแบบผสมผสาน

                       4.1.3.1 เกษตรกรในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม ตําบลแม่จริม อําเภอแม่จริม

                              จังหวัดน่าน
                       พื้นที่ในการดูแลของโครงการขยายผลฯ แม่จริมมีลักษณะพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่เป็นเชิงเขามีความสูง

               จากระดับน้ําทะเลประมาณ 300-1,100 เมตร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ มีลุ่มน้ําในการทําการเกษตร
               คือ ลุ่มน้ํามวบและลุ่มน้ําย่อยห้วยหมัน แต่ปัญหาการกระจายน้ําเพื่อการเกษตรยังถือเป็นปัญหาสําคัญ

               โครงการขยายผลฯ แม่จริมได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 ครอบคลุมพื้นที่ 6 หมู่บ้านในตําบลแม่จริม เกษตรกร

               ที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 400  ครัวเรือนส่วนใหญ่มาจาก 3  หมู่บ้าน คือ บ้านนาหมัน บ้านตอง และ บ้าน
               ตองเจริญราษฎร์ในอดีตเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก ต่อมาเมื่อโครงการขยายผลฯ เข้ามา

               สร้างศูนย์การเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร สนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ในการทําการเกษตร และ
               อุดหนุนด้านเมล็ดพันธุ์ ทําให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจํานวนมากเปลี่ยนแปลงไปสู่การปลูกพืชที่ให้

               ผลตอบแทนสูงขึ้น และปลูกไม้ยืนต้นมากขึ้น บางส่วนเริ่มปลูกพืชผักในโรงเรือน เช่น คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา

               ญี่ปุ่น ผักบุ้ง ผักชี ซึ่งสร้างรายได้สูงกว่าการปลูกข้าวโพดและเกิดรายได้หมุนเวียนตลอดปี ปัจจุบันมีโรงเรือน
               ทั้งหมด 15  โรงเรือน โดยโครงการฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนแรกคิดเป็นประมาณร้อยละ 70

                                                           101
               ของต้นทุนทั้งหมดในการปลูกผักโรงเรือนในปีแรก  และอุดหนุนค่าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชผ่านระบบ


               100 มากกว่าร้อยละ 80 ของความต้องการตลาดเป็นกาแฟคั่วเข้มทั่วไป

               101
                 โครงการอุดหนุนค่าพลาสติก มุ้ง ระบบน้ํา เมล็ดพันธุ์ ส่วนเกษตรกรจะรับผิดชอบเรื่องการหาไม้สร้างโครงโรงเรือน
                                                           4-13
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89