Page 87 -
P. 87

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                        105
                          และได้ราคารับซื้อสูงกว่าตลาดทั่วไป  อย่างไรก็ดี เกษตรกรจะต้องแยกขายสินค้าเป็น 2 ระดับ
                          โดยส่งสินค้าที่คุณภาพสูงให้โครงการหลวงและขายสินค้าที่คุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์ให้พ่อค้าที่มารับ
                          ซื้อ ซึ่งอาจจะได้ราคาตลาดหรือถูกกดราคาและเผชิญกับต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มมากขึ้น เกษตรกร

                          หลายรายจึงเลือกขายสินค้าแบบคละเกรดให้กับพ่อค้าในพื้นที่ในราคาต่ํากว่าราคารับซื้อโครงการ

                          หลวง เนื่องจากบริหารจัดการง่ายกว่าและมั่นใจว่าสามารถขายผลผลิตได้หมดแม้ว่าจะได้ราคา
                          ผลผลิตต่อหน่วยต่ํากว่าก็ตาม

                       2)  ขายในรูปแบบดั้งเดิมให้ตลาดทั่วไป
                       -  โครงการขยายผลช่วยประสานงานกับพ่อค้าในพื้นที่

                                 เกษตรกรจะขายผักโรงเรือน เช่น คะน้า แตงกวาญี่ปุ่น กวางตุ้ง กับพ่อค้ารายใหญ่ที่

                          โครงการขยายผลฯ ติดต่อให้ เช่น Macro ซึ่งรับซื้อสัปดาห์ละ 4 ครั้ง โครงการฯ จะเป็นผู้จัดสรร
                          และวางแผนหมุนเวียนการผลิตให้เกษตรกร ในกรณีนี้เกษตรกรทราบราคาผลผลิตประมาณ 1

                          เดือนก่อนเก็บเกี่ยวจากการประชุมประจําเดือนของกลุ่ม แม้ผลผลิตที่เกษตรกรปลูกในโรงเรือน
                          จะเป็นผลผลิตคุณภาพสูง มีการควบคุมการใช้สารเคมี แต่ราคาที่เกษตรกรได้รับก็คือ ราคาตลาด

                          ทั่วไปเช่นเดียวกับสินค้าที่คุณภาพต่ํากว่า

                                 ข้อจํากัดของการขายผักโรงเรือนในตลาดทั่วไป คือ การที่ระยะทางไปสู่ตลาดค่อนข้าง
                          ไกล ผักเหล่านี้เก็บได้ไม่นาน และเกษตรกรต้องขายผลผลิตให้ได้ก่อนเน่าเสีย ประกอบกับผลผลิต

                          ที่ได้ผ่านโครงการขยายผลฯ ยังมีปริมาณไม่มากนัก ทําให้เกษตรกรไม่มีอํานาจต่อรอง

                       -  ขายให้พ่อค้าคนกลางโดยตรง
                                 เกษตรกรขายสินค้าเช่น ผลไม้ต่างๆ ให้พ่อค้าที่มารับซื้อพื้นที่โดยตรง ไม่ได้ผ่านการ

                          ประสานงานของโครงการขยายผลฯ และพ่อค้าเป็นคนกําหนดราคารับซื้อตอนที่มารับซื้อผลผลิต
                       4.1.3.2 โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคํา ตําบลดู่พงษ์ อําเภอสันติสุข จังหวัดน่าน

                       บ้านโป่งคํามีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเนินภูเขาสูง และบางส่วนเป็นที่ราบและที่ชันเชิงเขา มี

               แหล่งน้ําที่ใช้ในการทําการเกษตร 2 แหล่งด้วยกันคือ ลําน้ํามวบ และลําน้ําพงษ์ โครงการขยายผลฯ โป่งคําเริ่ม
               เข้ามาทํางานในพื้นที่ในปีพ.ศ. 2550  มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 10  หมู่บ้าน เกษตรกรที่เข้าเป็นสมาชิก

               โครงการขยายผลฯ ทั้งหมด 140 ครัวเรือน โครงการขยายผลฯ ต้องการส่งเสริมให้คนในพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ
               ด้วยการปลูกไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง น้อยหน่า หวาย ฯลฯ และจัดหาอาชีพเสริมเพื่อลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยง

               สัตว์ เช่น ส่งเสริมการปลูกผักโรงเรือน อาทิ แตงกวาญี่ปุ่น ผักกาดขาวปลี ผักบุ้ง ฟักทอง คะน้า กวางตุ้ง ซึ่ง

               เป็นพื้นที่เหมาะกับสภาพทางกายภาพของพื้นที่ การปลูกผักนอกโรงเรือน สนับสนุนเกษตรกรด้านวัสดุและ
               อุปกรณ์ทางการเกษตรผ่านระบบกลุ่ม การจําหน่ายต้นกล้าให้กับเกษตรกรในราคาถูก และประสานจัดหา

               ตลาดให้ นอกจากนี้ เนื่องจากได้มีการจับพิกัดพื้นที่ป่าในบริเวณนี้ทั้งหมด และเกษตรกรเริ่มปลูกไม้ผลและไม้

               ป่าใช้สอยแล้ว ดังนั้นคาดว่าในอีก 4 ปี ขนาดและร่มเงาต้นไม้จะทําให้ไม่สามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ ทั้งนี้



               105
                 ตลาดทั่วไปให้ราคาเสาวรสคุณภาพสูงที่ 50 บาท โครงการหลวงให้ราคาได้ถึง 70 บาท
                                                           4-16
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92