Page 90 -
P. 90
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักในโรงเรือนซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 25 ราย โดยปลูกรายละประมาณ 1-2 โรงเรือน
ขนาดของโรงเรือนคือ 12*48 เมตร (576 ตร.ม.) เนื่องจากพริกหวานให้ผลตอบแทนสูงกว่ามะเขือเทศโทมัส
เกษตรกรมักเลือกปลูกพริกหวานทั้งสองโรงเรือน อย่างไรก็ดี เกษตรกรบางรายเลือกจะกระจายความเสี่ยงด้วย
การปลูกพริกหวาน 1 โรงเรือน และมะเขือเทศอีก 1 โรงเรือน กลุ่มเกษตรกรจะคัดเลือกสมาชิกกันเองและ
ช่วยกันดูแลมาตรฐานการเพาะปลูก มีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทรับซื้อที่เข้ามาติดตามดูสภาพการผลิต
ในพื้นที่เป็นระยะๆ รวมถึงจัดประชุมและนําเสนอข้อเสนอและปัญหาต่างๆ กับโครงการขยายผลฯ บ้านถ้ําเวียง
แก ด้วยระบบกลุ่มทําให้การประสานงานระหว่างโครงการขยายผลฯ และกลุ่มชาวบ้านมีความคล่องตัวมากขึ้น
เพราะโครงการขยายผลฯ ไม่ต้องแยกการบริหารจัดการกับเกษตรกรแต่ละครัวเรือน เนื่องจากเกษตรกรที่ยัง
ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของเกษตรกรที่อยู่ในโครงการฯ ซึ่งได้รับ
ประโยชน์จากพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่ต่ําลงเมื่อขายรวมกันในปริมาณมาก องค์ความรู้ที่
ได้จากโครงการขยายผลฯ และความมั่นใจว่าจะขายสินค้าได้หมดเนื่องจากโครงการฯ ช่วยจัดหาตลาดให้
จํานวนเกษตรกรที่สนใจการปลูกผักโรงเรือนจึงมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ โครงการขยายผลฯ จึงปรับลดสัดส่วน
113
การอุดหนุนต้นทุนโรงเรือน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความต้องการตลาด และเพื่อคัดเลือกเกษตรกร
ที่มีความตั้งใจจริง
นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มภายใต้โครงสร้างสหกรณ์การเกษตรขยายผลโครงการหลวงถ้ําเวียงแก
จํากัด ซึ่งมีสมาชิกสหกรณ์ 68 ราย โดยสหกรณ์มีบทบาทหลักในด้านจัดหาปัจจัยการผลิตให้สมาชิก เกษตรกร
สามารถกู้หรือเชื่อปัจจัยการผลิตจากสหกรณ์ ซึ่งโครงการฯ จะอุดหนุนปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยและยาปราบ
ศัตรูพืชของผักโรงเรือนผ่านสหกรณ์ สมาชิกจะสามารถซื้อปัจจัยการผลิตในราคาที่ต่ํากว่าราคาตลาดทั่วไป
ลักษณะการขายผลผลิตของเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังเป็นแบบตลาดดั้งเดิม
1) ขายแบบดั้งเดิมผ่านการประสานของโครงการฯ
- ขายพริกหวานและมะเขือเทศโทมัสให้พ่อค้าจากตลาดไท
เกษตรกรปลูกพริกหวานปีละ 1 รอบ เริ่มเก็บเกี่ยวพริกหวานสีเขียวและพริกหวานสี
แดง/เหลืองหลังปลูกได้สองเดือนครึ่งและสามเดือนตามลําดับ และสามารถทยอยเก็บทุกหนึ่งถึง
114
สองสัปดาห์ไปอีกประมาณสามเดือน โดยเฉลี่ยได้รายได้ประมาณ 80,000 บาทต่อโรงเรือนใน
115
ปีแรก และเพิ่มเป็น 150,000-160,000 บาทในปีถัดไป ต้นทุนในการเพาะปลูกไม่รวมค่า
โรงเรือนประมาณ 40,000 บาท
113
สนับสนุนเฉพาะพลาสติกใช้ในโรงเรือนมูลค่า 6,000 บาท
114 พริกหวานใช้ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 6 เดือน เกษตรกรจะเริ่มเพาะกล้าต้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งใช้เวลา
1 เดือนก่อนจะปลูกต้นเดือนสิงหาคม เกษตรกรสามารถเริ่มเก็บเกี่ยวพริกหวานเขียวได้ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมและเก็บพริก
หวานสีแดงและเหลืองได้ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน โดยจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกหนึ่งถึงสองสัปดาห์ไปเรื่อยๆ จนถึง
เดือนมีนาคมหรือเมษายนในปีถัดไป
115
โดยโรงเรือนหนึ่งสามารถผลิตได้ 3-4 ตันต่อปีหรือประมาณ 6-7 ตันต่อไร่
4-19