Page 88 -
P. 88

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               การปลูกพืชในและนอกโรงเรือนนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีแล้ว เกษตรกรยังมีรอบการเก็บเกี่ยว

               หมุนเวียนกันไปตลอดทั้งปี และในบางช่วงเกษตรกรสามารถมีรายได้ทุกวันจากการขายผลผลิต
                       ปัจจุบันมีโรงเรือน 14  โรงเรือนขนาด 180  ตร.ม. (และกําลังจะเพิ่มเป็น 20  โรงเรือนในปีถัดไป)

               โครงการขยายผลฯ สนับสนุนต้นทุนการสร้างโรงเรือนสําหรับโรงเรือนแรกคิดเป็นประมาณร้อยละ 70  ของ
                           106
               ต้นทุนทั้งหมด  และหากเกษตรกรรายเดิมต้องการเพิ่มจํานวนโรงเรือน โครงการขยายผลฯ จะช่วยเหลือต่อ
               โดยลดสัดส่วนการอุดหนุน สําหรับพืชนอกโรงเรือนซึ่งโครงการฯ เป็นผู้ประสานแผนการผลิตและการขาย เช่น

               ฟักแฟง ฟักทอง โครงการฯ แจกเมล็ดพันธุ์ และอุดหนุนการปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชผ่านระบบสหกรณ์
               เกษตรกรสามารถกู้ปัจจัยการผลิตมาก่อนได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ํา อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันเกษตรกรบางส่วนยัง

               ประสบปัญหาระบบน้ํากระจายไม่ทั่วถึง ซึ่งอาจเป็นปัญหากับพืชเช่น ฟักแฟง ซึ่งต้องการน้ํา ทําให้เกษตรกรที่

               อยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ําไม่สามารถปลูกเหล่านี้ได้แม้จะต้องการปลูก
                       เช่นเดียวกับพื้นที่โครงการขยายผลฯ แม่จริมที่เกษตรกรแต่ละรายจะอยู่ในธุรกิจที่หลากหลายขึ้นกับ

               ลักษณะของพืชที่ปลูก
                       1)  ขายแบบเกษตรพันธะสัญญา

                       -  ขายฟักแฟง ฟักทอง ให้กับสหกรณ์การเกษตร อ. ท่าวังผา

                                 โครงการขยายผลฯ ทําหน้าที่ประสานงานกับสหกรณ์การเกษตรท่าวังผาในการตกลงซื้อ
                          ขายผลผลิตฟักแฟง ฟักทอง และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ โดยตกลงปริมาณรับซื้อและราคาใน

                          ลักษณะเดียวกันกับกรณีโครงการฯ แม่จริม ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกฟักแฟงทั้งหมด 30 ราย ปลูก
                                                                           107
                          2  ครั้งต่อปีสร้างรายได้ประมาณ 27,000  บาทต่อไร่ต่อครั้ง  ในขณะเดียวกันเกษตรกรบางราย
                          จะปลูกฟักทองด้วย แต่จะผลิตได้ปีละครั้งและเก็บผลผลิตรอบเดียว สร้างรายได้ประมาณ 9,000-

                          10,000 บาทต่อไร่ต่อปี ผลผลิตฟักแฟงและฟักทองที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสหกรณ์ท่าวังผา
                          จะถูกส่งไปขายพ่อค้าแหล่งอื่นที่โครงการฯ ประสานไว้ได้ราคาตลาดประมาณ 2 บาทต่อ กก.

                       2)  ขายในรูปแบบดั้งเดิมให้ตลาดทั่วไป

                       -  โครงการขยายผลฯ ช่วยประสานงานกับพ่อค้าในพื้นที่
                                 เช่นเดียวกับในกรณีโครงการขยายผลฯ แม่จริม เกษตรกรขายแตงกวาญี่ปุ่น คะน้า

                          กวางตุ้ง ให้กับพ่อค้าในตลาดน่าน โดยโครงการจะเป็นคนกลางในการรวบรวมสินค้าและจัดหา
                          ตลาดเกษตรกรผลิตคะน้า กวางตุ้ง และแตงกวาญี่ปุ่นสลับกันไปชนิดละ 2-3  เดือน ผลิตได้ 3

                                           108
                          รอบต่อปีในโรงเรือน  เกษตรกรจะทราบราคาล่วงหน้าประมาณ 1  เดือน อย่างไรก็ดี เนื่องจาก
                          เป็นช่วงเริ่มต้น คุณภาพผลผลิตของผักโรงเรือนยังไม่สูงและสม่ําเสมอพอ การขยายตลาดทําได้




               106
                 โดยสนับสนุนมุ้ง พลาสติก ระบบน้ํา เมล็ดพันธุ์
               107
                 เกษตรกรเริ่มปลูกช่วงมิถุนายนและเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่กันยายนไปจนถึงธันวาคม เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้วันเว้น
               วันตลอดช่วง 4 เดือน และเริ่มปลูกอีกครั้งหลังจากนั้นเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดช่วงหน้าแล้ง
               108
                 จะพักแปลงช่วงหน้าร้อนเพื่อเลี่ยงปัญหาการขาดน้ํา (มีนาคม-เมษายน)
                                                           4-17
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93