Page 55 -
P. 55
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
61
ของ EMES ซึ่งระบุให้กิจการเพื่อสังคมคือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ดําเนินการโดยองค์กรที่ไม่แสวงผลกําไร
ที่มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์กับสังคม ชุมชน โดยเน้นการรวมกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างพลังของกลุ่ม
มีความเป็นอิสระและพร้อมเผชิญกับความเสี่ยงทางธุรกิจ ให้ค่าตอบแทนที่ไม่สูงกับผู้เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์ที่
ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อสังคม อํานาจการตัดสินใจไม่ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการถือหุ้น ไม่ให้ความสําคัญกับการ
62
กระจายส่วนแบ่งกําไรให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการนิยามที่มีรากฐานจากแนวคิดวัฒนธรรมยุโรป
ในขณะที่ทางฝั่งสหรัฐอเมริกา จะเป็นนิยามที่ครอบคลุมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate
social responsibility; CSR) ขององค์กรธุรกิจทั่วไป (mainstream business) ที่ต้องการให้บริษัทในสังคม
ทุนนิยมแสดงความรับผิดชอบต่อมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน นิยามที่เป็นที่นิยมคือ นิยาม
ที่กําหนดขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดย Social Enterprise Knowledge Network(Harvard Business School)
กิจการเพื่อสังคม คือ กิจการหรือการดําเนินการใดๆ ขององค์กรไม่แสวงผลกําไรหรือของบริษัทที่แสวงผลกําไร
หรือภาครัฐ ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งกับสังคมหรือเกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีวัตถุประสงค์ในการ
63
ช่วยเหลือสังคม ซึ่งเป็นนิยามที่มีรากฐานความคิดจาก Anglo-Saxon โดยองค์กรจะเป็นแบบแสวงหาผล
กําไรหรือไม่แสวงหาผลกําไรหรือกําไรน้อยมากก็ได้ แต่ต้องก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างคุณค่าทางสังคม
อย่างไรก็ดี แม้การกําหนดนิยามที่ชัดเจนให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันจะสําคัญมากในแง่การออก
กฎหมาย กําหนดกฎเกณฑ์ทางภาษี หรือเงินอุดหนุน แต่ในทางปฏิบัติสําหรับผู้ประกอบกิจการนั้น สิ่งสําคัญ
คือรูปแบบการดําเนินธุรกิจนี้จะอยู่รอดได้หรือไม่ โอกาสและข้อจํากัดของการดําเนินกิจการที่มุ่งหวัง
ผลประโยชน์เชิงสังคมเป็นอย่างไร ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในทางการนําไปใช้ งานวิจัยชิ้นนี้จะยึดนิยามรูปแบบ
กิจการเพื่อสังคมว่าเป็น การดําเนินธุรกิจโดยองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐและรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขาย
สินค้าหรือให้บริการ โดยองค์กรมีการปรับแปลงทิศทางจากการผลิตหรือให้บริการเชิงพาณิชย์มาเพื่อให้
ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางสังคมและ สิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ตั้งใจที่จะลดกําไรขององค์กรด้วยการให้ประกัน
ราคาขั้นต่ํากับเกษตรกรหรือรับซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดทั่วไป จ่ายค่าจ้างแรงงานสูงกว่าอัตรา
ตลาด ผันเงินที่จะเป็นกําไรไปให้การช่วยเหลือสังคม หรือมีการเสาะหาเงินอุดหนุนหรือสิทธิพิเศษจากรัฐบาล
หรือ NGO หรือผู้บริจาคเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ได้และช่วยเหลือสังคมต่อเนื่องได้
64
1) กรณีศึกษา: กิจการเพื่อสังคมด้านการเกษตรในประเทศเวียดนาม
กระแสกิจการเพื่อสังคมเริ่มเข้ามาในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553เป็นต้นมา โดยในระยะ
เริ่มแรก Center of Social Initiative Promotion (สนับสนุนโดย British Council)และ SPARK Centre
(สนับสนุนโดย NGO จากประเทศเนเธอร์แลนด์) เป็นสององค์กรที่เข้ามามีบทบาทมาก และเนื่องจากเวียดนาม
61 EMES คือ เป็นเครือข่ายของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยต่างๆ ในภาคพื้นยุโรป โดยเน้นศึกษาด้าน “third
sector” หรือกลุ่มกิจการเพื่อสังคม
62
Defourny and Nyssens, 2008 และ Defourny , 2001 (อ้างถึงใน Diaz-Foncea and Marcuello, 2012) และ Smith
and Darko, 2014
63
Brouard and Larivet, 2010 อ้างถึงใน Diaz-Foncea and Marcuello, 2012
64
Smith and Darko, 2014
3-12