Page 51 -
P. 51

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       สําหรับมิติของภาระความเสี่ยงที่เกษตรกรต้องเผชิญพบว่า กลุ่มจะใช้การรวมความเสี่ยงของสมาชิก

               เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสามารถช่วยลดภาระความเสี่ยงทางการเงินส่วนบุคคลของเกษตรกรรายย่อย ส่วนในด้านของ
               การแบกรับภาระต้นทุนและการแบ่งผลประโยชน์พบว่า ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากธุรกิจจะมี

               มูลค่าสูงขึ้นตามจํานวนสมาชิกหรือผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มขนาดใหญ่มักจะประสบปัญหาด้าน

               ระบบบัญชีที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและขาดความชัดเจนในการแจกแจงรายละเอียดของเงินทุนหมุนเวียน
               ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และการจัดสรรผลประโยชน์ให้สมาชิกในรูปของเงินปันผลได้

                       ทั้งนี้ พบว่ารูปแบบการรวมกลุ่มของเกษตรกรนั้นเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง โดยมากการรวมกลุ่ม
               ของเกษตรกรจะมุ่งเน้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการการผลิต การขนส่งและการขาย ตลอดจน

               เพื่อส่งเสริมการตลาดและเพิ่มอํานาจต่อรองให้แก่เกษตรกรอีกด้วย

                       ข้อดีของรูปแบบธุรกิจนี้คือ ระบบกลุ่มช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นและสภาพคล่องทางการเงินเพิ่ม
               มากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดให้แก่เกษตรกรรายย่อย รวมไปถึงยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการ

               บริหารจัดการแผนการผลิตและเพิ่มอํานาจในการต่อรองให้แก่กลุ่มสมาชิกเกษตรกร
                       สําหรับข้อจํากัดของรูปแบบธุรกิจนี้พบว่า ในกรณีที่สมาชิกในกลุ่มมีความเห็นที่ไม่เป็นไปในทาง

               เดียวกันหรือมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเกิดขึ้นในกลุ่ม จะส่งผลให้การลงมติหรือการตัดสินใจร่วมกันทางธุรกิจ

               กระทําได้ยาก และสมาชิกอาจต้องเผชิญความเสี่ยงจากการดําเนินธุรกิจผ่านโครงสร้างของบริษัทที่มีกรอบการ
               ดําเนินงานที่ซับซ้อนเช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่ชัดเจนของระบบบัญชี และการถูกครอบงําโดยกลุ่มผู้นํา

               หรือผู้มีสถานะได้เปรียบในท้องถิ่น เป็นต้น



                 กรณีตัวอย่าง : Kieni Dairy Products Limited ประเทศเคนย่า
                        Kieni Dairy Producte Limited (KDPL) เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มย่อยๆ ของเกษตรกร

                 ในปี ค.ศ. 1995  โดยมีการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยจํานวน 6  กลุ่มเข้าด้วยกันเพื่อก่อตั้งเป็นกิจการ

                 วิสาหกิจขนาดเล็ก (Small-scale farmer owned business) การก่อตั้งบริษัท KDPL  มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                 ส่งเสริมให้กลุ่มมีความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพสมาชิกในการดําเนินธุรกิจประเภทฟาร์มโคนม ตลอดจน

                 มุ่งส่งเสริมให้กลุ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากนมและเข้าสู่การแข่งขันในตลาดเฉพาะ
                 กลุ่ม (Niche market dairy products) การวางแผนการผลิตและการบริหารจัดการของบริษัทจะดําเนินการ

                 ผ่านคณะกรรมาธิการจํานวน 13 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกเลือกมาจากสมาชิกผู้ถือหุ้น (EADD,  2009อ้างถึงใน

                 V       l    d C t l 2010)
















                                                           3-8
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56