Page 46 -
P. 46
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รูปแบบธุรกิจหลักที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรเป็นส่วนสําคัญในการดําเนินการแบ่งได้กว้างๆ ดังนี้
3.1.1 เกษตรพันธะสัญญา (Contract farming)
เกษตรพันธะสัญญานี้ เกษตรกรกับผู้ซื้อผลผลิตทําสัญญาการซื้อผลผลิตที่ตกลงปริมาณการรับซื้อไว้
ก่อนแล้ว โดยทั่วไปสัญญามักจะระบุราคารับซื้อ หรือระบุว่าราคารับซื้อจะขึ้นอยู่กับราคาตลาดมากน้อย
เพียงใด และอาจระบุไปถึงวันที่ต้องส่งผลผลิต ปริมาณเท่าไร และมีคุณภาพระดับใด ส่วนใหญ่แล้วบริษัทรับซื้อ
ผลผลิตจะให้สินเชื่อ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาและความรู้ทางเทคนิคกับเกษตรกรก่อน เกษตรกรจะจ่ายคืนค่าวัตถุดิบ
เหล่านี้ในภายหลังเมื่อขายผลิตผลได้โดยให้บริษัทหักจากราคารับซื้อ เกษตรพันธะสัญญายังแบ่งแยกย่อยได้อีก
หลายประเภท ตั้งแต่สัญญาปากเปล่าไม่เป็นทางการจนถึงสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรที่กําหนดเงื่อนไขการรับ
ซื้อไว้มากมาย
1) Highly centralized modelคือ กรณีที่บริษัทรับซื้อทําสัญญารับซื้อกับเกษตรกรจํานวนมาก
และมีการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพและปริมาณที่เข้มงวด
2) Nucleus estate modelคือ กรณีที่บริษัทผสมผสานการทําสัญญากับเกษตรกรและการเข้าไป
ทําการผลิตเองโดยตรง เช่น การเช่าที่จากรัฐในระยะยาวแล้วแบ่งให้เกษตรกรเช่าต่อ บริษัทรับ
ซื้อหรือบริษัทธุรกิจการเกษตรจะเป็นผู้ตัดสินใจด้านการผลิตทั้งหมด
3) Multipartite modelคือ กรณีที่เกษตรกรทําสัญญากับบริษัทร่วมทุน (joint venture) ซึ่งเป็น
บริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนของบริษัทธุรกิจการเกษตรที่รับซื้อผลผลิตกับหน่วยงาน/นิติบุคคลใน
ท้องถิ่น เช่น หน่วยงานของรัฐ บริษัทท้องถิ่นหรือองค์กรตัวแทนเกษตรกรในท้องถิ่นนั้น
4) Informal modelคือ การทําสัญญาแบบปากเปล่า ไม่เป็นทางการ ตกลงตามฤดูกาลการผลิต
โดยบริษัทรับซื้อมักจะจัดหาเพียงเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้เท่านั้น
5) Intermediary modelหรือ กรณีที่บริษัทรับซื้อมักทําสัญญากับพ่อค้าคนกลางซึ่งไปทําสัญญาต่อ
กับเกษตรกรจํานวนมาก โดยพ่อค้าคนกลางเป็นผู้ให้สินเชื่อกับเกษตรกรรายย่อยเพื่อนําไปจัดซื้อ
ปัจจัยการผลิต เกษตรกรจะได้รับผลประโยชน์จากรายได้หลังหักหนี้ที่ต้องชําระคืนให้พ่อค้าคน
กลาง
6) Subcontractingหรือ กรณีที่บริษัทรับซื้อไปทําสัญญากับบุคคลที่สามในการจัดหาหรือจัดส่ง
สินค้าและบริษัทไปทําสัญญาต่อกับเกษตรกรรายย่อยให้ผลิตตามปริมาณที่กําหนด บริษัทรับซื้อ
ทําหน้าที่เหมือนเป็นพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรรายย่อยลงทุนกับปัจจัยการผลิตเองหรือบริษัท
อาจจะช่วยจัดหาให้แล้วแต่การตกลง เกษตรกรอาจเผชิญกับปัญหาบริษัทรับซื้อชําระเงินค่า
สินค้าให้ล่าช้า
ในรูปแบบธุรกิจนี้ โดยมากเกษตรกรยังคงเป็นเจ้าของพื้นที่หรือมีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่นั้น
และดําเนินการผลิตบนพื้นที่ตนเอง (อาจยกเว้นกรณี nucleus estate model) เรื่องการตัดสินใจทางธุรกิจที่
เชื่อมโยงกับตลาดโดยตรงจะเป็นของบริษัทรับซื้อ ในกรณีที่เป็น pure contract farming คือบริษัททําเกษตร
พันธะสัญญากับเกษตรกรโดยตรงเกษตรกรอาจจะมีสิทธิ์มีเสียงในการต่อรองอยู่บ้างเนื่องจากผลผลิตทั้งหมด
ขึ้นอยู่กับเกษตรกร แต่ถ้าในกรณี nucleus estate model เกษตรกรจะแทบไม่มีอํานาจต่อรองเลย
3-3