Page 43 -
P. 43

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ในแต่ละประเภทเป็นสําคัญ ให้ความสําคัญกับระบบการให้ราคาคงที่และการวัดความผันผวนของราคา รวมไป

               ถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของเกษตรในการตัดสินใจ บริหารงาน และการแบ่งปันผลประโยชน์  ผล
               การศึกษาพบว่า ข้อดีของการที่เกษตรกรในพื้นที่ยอมรับการปรับเปลี่ยนวิถีทางการเกษตรโดยหันมาปลูกพืชผัก

               เมืองหนาวแทนการทําเกษตรเชิงเดี่ยวแบบเดิม ทําให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในเขตพื้นที่สูง

               เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจชี้อย่างชัดเจนว่า การหันมาปลูกผักเมืองหนาวเป็นหลักทําให้
               เกษตรกรมีผลกําไรและรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 50  เนื่องจากพื้นที่มีลักษณะทางภูมิประเทศและ

               ภูมิอากาศที่อํานวยต่อการปลูกพืชทั้งแบบตามฤดูกาลและนอกฤดูกาลซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่ม
               รายได้ให้กับเกษตรกร ตัวชี้วัดทางด้านสังคมแสดงให้เห็นว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีรายได้ต่อครัวเรือน

               เพิ่มขึ้นและมีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้นมีการจ้างงานผู้หญิงในชุมชนเพิ่มขึ้น โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร

               มีสูงขึ้น เกษตรกรมีการพัฒนาการผลิตและมีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น แต่เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทางด้าน
               สิ่งแวดล้อมและดัชนีชี้วัดทางด้านสถาบันกลับพบว่าเกษตรกรมักเน้นการทําเกษตรในเชิงพาณิชย์ ทําให้ต้องใช้

               ปัจจัยการผลิตและระดับการใช้สารเคมีที่อาจคุกคามความยั่งยืนของพื้นที่สูงในระยะยาวได้ นอกจากนี้
               เกษตรกรในพื้นที่ยังประสบกับปัญหากลไกตลาด (Market  mechanisms) และความผันผวนของราคาสินค้า

               (Price variations) ซึ่งผู้วิจัยได้ย้ําถึงความจําเป็นที่ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทสําคัญในเชิงนโยบาย สนับสนุน

               ด้านกลไกการตลาดและระบบราคา เพื่อสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรในเขตพื้นที่สูง
                       โดยสรุป งานวิจัยที่ศึกษาความยั่งยืนด้านเกษตรที่คัดสรรตัวชี้วัดที่หลากหลายแตกต่างกันไปตาม

               วัตถุประสงค์ของเจ้าของงานวิจัยได้นํามาสู่ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับรูปแบบการเกษตรที่เหมาะสม

               กับสภาพพื้นที่สูง เอื้อกับลักษณะจําเพาะและข้อจํากัดทางกายภาพของที่ชันและเกื้อหนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม
               ในที่ชัน แต่ส่วนที่ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีกมากคือ เรื่องรูปแบบธุรกิจที่จะมารองรับรูปแบบการเกษตร

               เหล่านี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสําคัญที่ช่วยสร้างความยั่งยืนกับผลตอบแทนที่เกษตรกรควรจะได้ ต้องสามารถสร้างความ
               ยืดหยุ่นให้กับเกษตรกร ช่วยอํานวยความสะดวกให้เกษตรกรปรับสู่วิถีการเกษตรที่ยั่งยืน และเมื่อประสบ

               ปัญหาก็ยืดหยุ่นพอที่จะไม่หันกลับมาหาวิถีเกษตรที่ทําลายระบบนิเวศของพื้นที่ชัน































                                                           2-12
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48