Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
40
ต้นทุนในการปรับเปลี่ยนวิถีการทําเกษตรกรรมของเกษตรกรสูง ที่สําคัญคือ การตัดสินใจของตัวเกษตรกร
เองในการเปลี่ยนมาทําการเกษตรแบบยั่งยืนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สิทธิในการถือครองที่ดินของเกษตรกร
โอกาสในการเข้าถึงตลาด สภาพแวดล้อมในพื้นที่ และการสนับสนุนจากทางหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรต่างๆ
41
เป็นต้น
โดยสรุปจากงานศึกษาในพื้นที่ต่างๆ จากหลากหลายภูมิภาคทั้งในอาเซียนและประเทศใกล้เคียง
หลักการที่สําคัญ 3 ประการที่ควรคํานึงถึงในการพัฒนารูปแบบการเกษตรบนพื้นที่สูงที่ยั่งยืนคือ 1) จะต้อง
พิจารณาถึงทางเลือกและโอกาสของการใช้ประโยชน์จากที่ดินตามความหลากหลายของระบบนิเวศในพื้นที่ 2)
การพัฒนาระบบฟาร์มจะต้องสอดคล้องกับคุณลักษณะเด่นที่จําเพาะในแต่ละพื้นที่ และ 3) จําเป็นที่จะต้อง
42
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับระบบนิเวศให้เกิดขึ้นในเขตพื้นที่สูง
งานศึกษาความยั่งยืนด้านเกษตรที่ใช้ตัวชี้วัดที่หลายหลายนํามาสู่ข้อเสนอที่ได้รับการยอมรับใน
ปัจจุบันว่า รูปแบบการเกษตรบนพื้นที่สูงที่ประสบความสําเร็จในการสร้างความยั่งยืนมักเป็นรูปแบบที่รู้จักใช้
ประโยชน์จากจุดเด่นและความจําเพาะทางสภาพภูมิประเทศ เช่นรูปแบบการปลูกผลไม้บนพื้นที่ลาดชัน
รูปแบบการปลูกพืชชั้นล่างแซมพืชยืนต้น และรูปแบบการปลูกป่าควบคู่ไปกับการปลูกพืชสวน เป็นต้น โดยมี
ตัวอย่างดังนี้
1) การปลูกสวนผลไม้บนพื้นที่ลาดชันที่ประสบความสําเร็จในการสร้างความยั่งยืน เช่น การเปลี่ยน
วิถีการทําเกษตรกรรมจากการเกษตรเพื่อยังชีพมาเป็นการใช้ระบบฟาร์มออร์แกนิคของเกษตรกร
บนพื้นที่ลาดชันในเขต Himachal Pradesh ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในเขต Indian
Himalayas เกษตรกรส่วนใหญ่หันมาปลูกไม้ยืนต้นเมืองหนาวจําพวกแอปเปิลและผลไม้เมือง
หนาวชนิดอื่นๆ การปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรนี้ทําให้ชุมชนมีผลผลิตมวลรวมและรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น
จากเดิมถึง 200 เท่าและ 26 เท่าตามลําดับ และยังช่วยลดความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหาร
ลดปัญหาความยากจนของประชากรในพื้นที่ เพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ สร้างความมั่นคงทางระบบ
นิเวศและสิ่งแวดล้อม ทําให้ชุมชนมีสภาพทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยิ่ง
ไปกว่านั้น การปรับวิถีทางการเกษตรจากเดิมมาเป็นการทําออร์แกนิคฟาร์มยังช่วยสร้าง
ความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างเกษตรกรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่
Himachal Pradesh มักนําเงินประมาณร้อยละ 30-40 ของรายได้มาลงทุนกลับในด้าน
เทคโนโลยีการผลิต การอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ําในเขตพื้นที่ลาดชันที่ตนเองถือครอง
43
2) การปลูกพืชชั้นล่างแซมกับการปลูกพืชยืนต้น เป็นการใช้ประโยชน์จากปลูกต้นไม้หลายระดับ
ความสูงและเป็นหนึ่งในรูปแบบของวนเกษตร (agroforestry) โดยตัวอย่างที่ประสบความสําเร็จ
40
Fujisaka, 1994
41
Partap, 2004
42 Partap, 1998อ้างถึงใน APO, 2004
43
Sharma, 1996อ้างถึงใน APO, 2004
2-10