Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นสําคัญที่สุดที่ส่งผลต่อความไม่ยั่งยืนนี้ ตามมาด้วย ระดับการออม

               สินค้าทุนของครัวเรือน เช่น สัตว์ที่นําไปขายได้ การพังทลายของหน้าดิน รายได้ครัวเรือน ระยะการปล่อยให้
                                                  25
               ป่าฟื้นตัว รายได้สุทธิจากฟาร์ม ตามลําดับ
                       การที่งานวิจัยด้านความยั่งยืนส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินความยั่งยืนของการทํา

               เกษตรกรรมในพื้นที่ต่างๆ การใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ และการใช้แบบจําลองเชิงพลวัตในการ
               ประมาณการสถานการณ์ความยั่งยืนของพื้นที่นั้น ได้สร้างจุดอ่อนที่สําคัญคือ การพุ่งเป้าไปที่ผลลัพธ์

               (outcome)  โดยไม่ได้ลงศึกษาถึงแรงผลักดัน (driver)  ที่มากําหนดผลลัพธ์หรือค่าตัวชี้วัดเหล่านี้ หรือ
                                                  26
               ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงผลักดันกับตัวชี้วัด  ทําให้ยากต่อการดึงข้อเสนอแนะทางนโยบายหรือระบุช่องทางใน
               การผลักดันนโยบายที่จะไปสร้างความยั่งยืน  Pham and Smith (2013) พยายามประเมินความยั่งยืนอย่าง

               เป็นระบบโดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดและแรงผลักดันในระบบฟาร์มขนาดเล็กและกําหนดให้ขนาด
               ฟาร์ม ขนาดครอบครัว ขนาดแรงงาน ระดับการศึกษาตําแหน่งที่อยู่อาศัย ชาติพันธุ์ และปริมาณฝนเป็น

               แรงผลักดันจากธรรมชาติและลักษณะประชากร ในขณะที่แรงผลักดันเชิงเศรษฐกิจสังคม คือ รายได้ต่อหัว
               สิทธิ์ในที่ดิน การเข้าถึงตลาด การเข้าถึงเทคโนโลยี ความยากจน การจัดการฟาร์ม รายได้นอกภาคเกษตร เงิน

               ออม ส่วนแรงผลักดันเชิงสถาบันหรือการเมือง ได้แก่ การจัดการชุมชน นโยบายเกษตร การอบรมและ

               เสริมสร้างขีดความสามารถ ซึ่งแรงผลักดันเหล่านี้อาจมีความสัมพันธ์กันเอง และมีความสัมพันธ์ต่อค่าตัวชี้วัด
               เช่น ผลผลิตต่อไร่ รายได้จากฟาร์ม ความมั่นคงทางอาหารและสินเชื่อ ความสมบูรณ์ของดินการเกิดโรคระบาด

               และศัตรูพืช การใช้น้ํา ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง นักวิจัยใช้ stepwiseregression  ในการระบุความสัมพันธ์ที่มี
                                                                                                 27
               นัยสําคัญระหว่างแรงผลักดันกับตัวชี้วัด ระหว่างแรงผลักดันด้วยกันและระหว่างตัวชี้วัดด้วยกันเอง  ตัวอย่าง
               ของผลการศึกษา เช่น ตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารมีรายได้นอกภาคเกษตร ผลผลิตต่อไร่ ความยากจน และ

               พื้นที่เพาะปลูกเป็นแรงผลักดัน จากการพบความสัมพันธ์ระหว่างแรงผลักดันกับตัวชี้วัดที่มีนัยสําคัญมากมาย
               ทําให้ผู้วิจัยสามารถสร้างระบบความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของภาคเกษตรในพื้นที่ได้โดยประเด็นความ

               มั่นคงทางอาหารกําลังวิกฤตมากที่สุด นอกจากนี้การเข้าถึงปัจจัยการผลิต สินเชื่อจากภายนอกได้ง่ายทําให้

               เกษตรกรหันมาพึ่งพิงปัจจัยที่ต้องหาจากนอกพื้นที่เป็นหลักซึ่งเป็นอาการหนึ่งของความไม่ยั่งยืน
                       โดยสรุปงานวิจัยที่ผ่านมาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) กลุ่มงานที่เน้นการวัดความ

               ยั่งยืนของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืน
               และพลวัตในพื้นที่นั้น 2) งานเปรียบเทียบความยั่งยืนระหว่างพื้นที่ โดยเปรียบเทียบตัวชี้วัดที่กําหนดไว้ ซึ่งโดย

               ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่แตกต่างกันในด้านรูปแบบเกษตรกรรมและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงผลักดัน




               25 เมื่อประเมินแบบเปรียบเทียบกับค่ากลางของทางภาครัฐ และแบ่งกลุ่มคะแนนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มยั่งยืน ยั่งยืนอย่างมี

               เงื่อนไข ไม่ยั่งยืน
               26
                 Le et al., 2012
               27 ผู้วิจัยใช้ stepwise linear regression ในการระบุความสัมพันธ์ของ continuous variable  เช่น ค่าผลผลิตต่อไร่และ

               stepwise logistic regression ในการระบุความสัมพันธ์ของ categorical variable เช่นการเกิดโรคระบาด (น้อยลง/เพิ่มขึ้น)

                                                           2-6
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42