Page 34 -
P. 34
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1 และ 2 เป็นการพยายามคํานวณหรือประเมินค่าของปัจจัยต่างๆ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ต่างๆ ใน
หน่วยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาตามแนวทางทั้ง 2 นี้อยู่บนสมมติฐานที่ว่า ปัจจัยต่างๆ สามารถนํามา
เปรียบเทียบกันได้ เช่น แนวทางที่ 1 เปรียบเทียบโดยใช้หน่วยเงิน แนวทางที่ 2 เปรียบเทียบโดยใช้คะแนน ซึ่ง
แนวทางดังกล่าวก็มีข้อดีคือสามารถสรุปได้ว่าผลลัพธ์ใดดีกว่ากัน แต่ก็มีข้อโต้แย้งในเรื่องที่ว่าปัจจัยต่างๆ
สามารถแปลงและเปรียบเทียบในหน่วยเดียวกันได้จริงหรือไม่ ในขณะที่แนวทางที่ 3 เป็นการแสดงผลกระทบ
ต่อปัจจัยต่างๆ แยกจากกันโดยไม่ได้พยายามแปลงปัจจัยต่างๆ เป็นหน่วยเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบ ซึ่งก็มี
จุดอ่อนที่อาจจะสรุปได้ยากว่าผลลัพธ์ใดดีกว่ากัน แต่ก็ไม่มีปัญหาในด้านการแปลงค่าปัจจัยต่างๆ ให้เป็นหน่วย
เดียวกัน ในทางปฏิบัติ แนวทางที่ 3 จึงได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะสะดวกต่อการใช้งาน มีข้อโต้แย้งน้อย
กว่า และมีความยืดหยุ่นมากพอเมื่อต้องปรับใช้ในบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ตัวชี้วัดจึงกลายเป็นเครื่องมือ
19
ประเมินที่มีความสําคัญมาก
อย่างไรก็ดี การหาตัวชี้วัดความยั่งยืนที่ถูกต้องที่สุดเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากการนิยามความยั่งยืนจะ
20
ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้วิเคราะห์ และตัวชี้วัดที่ควรนํามาใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ที่มีความ
แตกต่างทั้งในเชิงกายภาพ สภาพเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ความยั่งยืนมีความเป็นพลวัต ตัวแปรที่ทําให้
เกิดความยั่งยืนในช่วงเวลาหนึ่งอาจไม่สําคัญอีกต่อไปถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไป
ในแง่การแปรหลักการความยั่งยืนเพื่อใช้ในทางปฏิบัตินั้น หน่วยงาน Organization of Economic
Cooperation and Development (OECD) เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแบบจําลอง Pressure-State-Response ซึ่ง
ได้ถูกนําไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ชุดตัวชี้วัดที่ใช้ในรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของออสเตรเลีย
แคนาดา นิวซีแลนด์ ชุดตัวชี้วัดที่เสนอโดย United Nations Commission on Sustainable
Development (CSD) และประยุกต์ต่อมาอีกเป็น Environmental Sustainability Index ตัวชี้วัดเหล่านี้
กลายเป็นเครื่องมือทางนโยบายและสามารถใช้เปรียบเทียบสภาวะความยั่งยืนข้ามประเทศได้ และต่อจากนั้น
ทาง OECD ก็ได้พัฒนาตัวชี้วัดชุดใหม่จากกรอบแนวคิด Driving force-State–Responses (DSR) โดย
Driving force indicator หมายถึงกลุ่มตัวชี้วัดที่แสดงตัวแปรที่ทําให้ต้องเปลี่ยนแปลงการจัดการฟาร์มหรือ
การใช้ปัจจัยการผลิต ส่วน State indicator คือกลุ่มตัวชี้วัดที่แสดงผลของเกษตรกรรมต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน
น้ํา อากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งอาศัยและสภาพพื้นที่ ในขณะที่ Response indicator คือกลุ่ม
ตัวชี้วัดพฤติกรรมหรือการกระทําที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด
21
39 ตัวชี้วัด ซึ่งถูกนําไปประยุกต์ใช้ต่อโดยหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆอย่างกว้างขวาง
ในภาพใหญ่ ตัวชี้วัดความยั่งยืนทางเกษตรที่จะเลือกใช้ควรสะท้อนให้เห็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของ
เกษตรกร ความสามารถพึ่งพาตนเองได้ กําไรอยู่ในระดับที่อยู่ได้ มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น มีความมั่นคงทาง
อาหาร ลดการซื้อหาปัจจัยการผลิตจากภายนอก ลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่สามารถนํามาใช้ใหม่ได้ การ
19
Mueller, 1997
20 Webster, 1999 และ Hayati et al., 2010
21
OECD, 1997อ้างถึงใน Hayati et al., 2010
2-3