Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               1.3 ขอบเขตของงานวิจัย

                       ขอบเขตการศึกษาพื้นที่สูงในงานวิจัยฉบับนี้จะหมายถึง พื้นที่ชันเชิงเขา พื้นที่ลาดชัน ภูเขาและพื้นที่
               สูงทั่วไป พื้นที่เหล่านี้เกือบทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของกฎหมายป่าไม้ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.

               อุทยานแห่งชาติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยที่เกษตรกรไม่มีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกันมัก
                                                     10
               เป็นพื้นที่ที่มีการบุกรุกเพื่อปลูกไร่พืชเชิงเดี่ยว  เช่น ขิง หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การตัดสินใจของเกษตรกรใน
               พื้นที่ยังถูกกําหนดด้วยสัญญาณจากตลาด มีช่องทางที่ธุรกิจการผลิตพืชเชิงเดี่ยวสามารถไปถึง มีกลไกตอบรับ

               เพียงพอที่ทําให้สามารถขนส่งสินค้าสู่ตลาดได้ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิต ซื้อขาย ขนส่งสินค้ายังได้ประโยชน์
               เชิงธุรกิจจากการผลิตในพื้นที่นี้บ้างไม่มากก็น้อย (business  viability)  ทั้งนี้ ผู้วิจัยกําหนดขอบเขตการศึกษา

               พื้นที่สูงในลักษณะนี้แทนการกําหนดนิยามเชิงภูมิศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่

               ต้องการจะศึกษารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ต้นน้ํา โดยให้ความสําคัญเป็นพิเศษ
               กับผลลัพธ์ในแง่ของการปรับปรุงการใช้พื้นที่และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า

               ไม้จากการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว
                       การวิจัยฉบับนี้ศึกษาพื้นที่ตัวอย่างในจังหวัดน่าน น่านเป็นจังหวัดมีสัดส่วนพื้นที่สูงหรือภูเขามากถึง

               ร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมด ครอบคลุมพื้นที่ 185 หมู่บ้าน มีรูปแบบเกษตรกรรมที่หลากหลาย พื้นที่ส่วนใหญ่

               เผชิญปัญหาการบุกรุกป่าตามกระแสพืชไร่เชิงเดี่ยว อย่างไรก็ดี มีหลายพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนและเลือก
               รูปแบบเกษตรกรรมอื่นมาแทนที่ข้าวโพด โดยพื้นที่ที่ทําการสํารวจรายครัวเรือนจะมีรูปแบบการเกษตร

               แตกต่างกันไป คือ
                                                                                          11
                       1)  รูปแบบเกษตรแบบผสมผสาน ได้แก่ ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง แม่จริมอ.แม่จริม
                          โครงการขยายผลโครงการหลวงโป่งคําอ.สันติสุข และพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงบ้าน

                          ถ้ําเวียงแกอ.สองแคว
                       2)  รูปแบบการปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผลเป็นหลัก ได้แก่ บ้านป่ากลางอ.ปัว และบ้านสบเป็ดอ.ท่าวังผา

                          ซึ่งมีการปลูกมะม่วงในพื้นที่ลาดชันเป็นรายได้หลักของเกษตรกร

                       3)  รูปแบบการปลูกพืชที่อาศัยร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ เช่น ในพื้นที่บ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง และบ้าน
                          สันเจริญอ.ท่าวังผา ซึ่งมีการปลูกกาแฟในพื้นที่ป่า

                       และในแต่ละพื้นที่จะมีรูปแบบธุรกิจที่มารองรับรูปแบบการเกษตรที่แตกต่างกันไป มีจุดร่วมและจุด
               ต่างที่น่าสนใจ และสะท้อนให้เห็นถึงการพยายามของเกษตรกรในการลดผลกระทบที่เกิดจากข้อจํากัดในแต่ละ

               พื้นที่ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าลักษณะรูปแบบธุรกิจใดที่นอกจากจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงขึ้นแล้วยังช่วย

               ปลูกฝังประเด็นการรักษาที่ดิน น้ําและป่า และเอื้อให้เกษตรกรมีความยืดหยุ่นมากพอที่เมื่อยามต้องเผชิญกับ
               อุปสรรคต่างๆ ก็ไม่รีบหันกลับไปหาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันอีก




               10
                 การนิยามพื้นที่สูงจึงไม่ได้เป็นไปตามหลักภูมิศาสตร์ที่กําหนดให้พื้นที่สูงจากระดับน้ําทะเล500 เมตร ขึ้นไปเป็นพื้นที่สูง
               11 ปัจจุบัน“โครงการขยายผลโครงการหลวง” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง” รายงานวิจัย

               ฉบับนี้ยังคงใช้ชื่อ “โครงการขยายผลโครงการหลวง” ตามข้อเสนอโครงการเบื้องต้น

                                                           1-6
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35