Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               เหมาะสมจะต้องมีส่วนช่วยในการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นบนพื้นที่สูง หรืออย่างน้อยก็ไม่ไปส่งเสริมให้ไม่เกิด

               ความยั่งยืนขึ้นในด้านใดด้านหนึ่ง
                       รูปแบบการเกษตรบนพื้นที่สูงเป็นปัจจัยพื้นฐานในการกําหนดรูปแบบการประกอบอาชีพและส่งผล

               โดยตรงต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร รวมทั้งเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยเฉพาะ

               ในด้านการใช้ที่ดินและการใช้สารเคมี ปุ๋ย และยาในการเพาะปลูก รูปแบบการเกษตรบางอย่างอาจจะทําให้
               เกษตรกรมีรายได้สูงแต่อาจจะมีบทบาทในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อย รูปแบบการเกษตรบางอย่าง

               อาจจะส่งผลโดยตรงต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เช่น ระบบวนเกษตรซึ่งการปลูกพืชต้องอาศัยร่มเงาของไม้
               ใหญ่ทําให้เกษตรกรต้องรักษาสมดุลของระบบนิเวศป่าเพื่อให้ตนเองได้รับผลผลิตที่ดี ในขณะที่รูปแบบ

               การเกษตรบางอย่างอาจจะส่งผลโดยอ้อมต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เช่น การทําการเกษตรทางเลือกที่ใช้

               แรงงานเข้มข้นและให้รายได้เพียงพออาจจะส่งผลให้เกษตรกรเปลี่ยนลักษณะการใช้พื้นที่และลดขนาดพื้นที่ทํา
               กินของตนลงได้ การเลือกรูปแบบการเกษตรจะมีผลโดยตรงต่อความยั่งยืนในด้านต่างๆ ดังนั้นจึงต้องมี

               การศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงกลไกที่รูปแบบหรือลักษณะการเกษตรแบบต่างๆ จะเข้ามาช่วยลดข้อจํากัด
               ต่างๆ ของพื้นที่สูง และมีส่วนช่วยสร้างความยั่งยืนทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้กับเกษตรกร

               ในพื้นที่สูงได้

                       ในส่วนของรูปแบบธุรกิจการเกษตรพบว่า ในปัจจุบัน รูปแบบธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูงของไทยมี
               ความหลากหลายเพิ่มขึ้นมาก มีทั้งรูปแบบธุรกิจดั้งเดิมที่พึ่งพาพ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อผลผลิตในพื้นที่

               รูปแบบวิสาหกิจชุมชนที่เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อสร้างอํานาจการต่อรองกับพ่อค้าหรือส่งขายกับ

               ตลาดภายนอกเอง รูปแบบเกษตรพันธะสัญญาซึ่งเป็นความพยายามในการลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ทั้งของ
               เกษตรกรและผู้รับซื้อเอง รูปแบบการเชื่อมโยงกับตลาดปลายทางโดยตรงเพื่อลดขั้นตอนและต้นทุนที่เกิดขึ้น

               จากการขายผ่านพ่อค้าและเจาะตลาดที่ต้องการสินค้าคุณภาพสูง การเพิ่มขึ้นของกิจการเพื่อชุมชนหรือ social
               enterprise  ที่พยายามคืนกําไรกลับไปช่วยเกษตรกรและชุมชน รวมถึงรูปแบบธุรกิจที่สืบเนื่องจากเข้าไป

               พัฒนาพื้นที่สูงของโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสําคัญในการ
                                                                          7
               พัฒนาพื้นที่สูงของไทยแบบองค์รวมตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา



               ออกเป็น รูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมที่มีพ่อค้าเข้าไปรับซื้อและเกษตรกรแยกกันขายผลผลิตให้พ่อค้า การเกษตรแบบพันธะ

               สัญญา การรวมกลุ่มเกษตรกรในการขายผลผลิต การรวมกลุ่มเกษตรกรในการขายผลผลิตโดยมีการพัฒนาคุณภาพ การ
               รวมกลุ่มเกษตรกรในการแปรรูปผลผลิตและขายสินค้า และการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยมีทั้งการพัฒนาคุณภาพผลผลิตและการ
               แปรรูป
               7
                การแก้ไขปัญหาของภาคเกษตรไทยจําเป็นต้องมองทั้งระบบตั้งแต่การผลิตที่ไร่นาไปจนถึงภาคการตลาดที่มีธุรกิจต่างๆ มาต่อ
               ยอด เพราะการจะก้าวพ้นความยากจน เกษตรกรต้องสามารถดึงตนเองออกมาจากหุบเหวปัญหาภาคการผลิต ซึ่งได้แก่ การ
               ขาดความรู้การจัดการไร่นาและการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มรายได้ และไม่เข้าใจระบบการผลิตปลอดภัยให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และ
               หุบเหวของการตลาด เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงกลไกตลาดได้ การจะแก้ปัญหาจึงต้องยกระดับการจัดการในไร่นาของ

               เกษตรกรหรือการผลิตสินค้าของชุมชนผ่านนวัตกรรม เช่น การใช้พันธุ์จําเพาะวิธีการผลิตจําเพาะสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
               และสร้างช่องทางการตลาดเพื่อเชื่อมเกษตรกรให้เข้ากับระบบการผลิตเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ  จากเอกสาร “ความท้า

                                                           1-3
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32