Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ชัดเจน ชุมชนท้องถิ่นจะไม่สามารถเข้าถึงการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ของตนจนส่งผลให้ความเป็นอยู่แย่ลง รวมถึง

               ระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมที่ทรุดโทรมลงจากการลงทุนทางการเกษตรที่ขาดความรับผิดชอบต่อพื้นที่
                       ในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยยอมรับหลักการการลงทุนภาคเกษตรอย่างมีความรับผิดชอบ

               (Responsible Agricultural Investment Principle, PRAI)  ซึ่งเป็นหลักการที่องค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่

               FAO, IFAD, UNCTAD และ World bank   ร่วมกันคิดและบรรลุข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ให้เป็น
               หลักการพื้นฐานสําหรับการลงทุนระหว่างประเทศในด้านการเกษตร ให้ต้องคํานึงถึงผลกระทบต่อทั้งเรื่องสิทธิ

               วิถีชีวิต และทรัพยากรของชุมชนที่รับการการลงทุน โดยหลักการนี้กําลังอยู่ในช่วงพัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติที่
               แต่ละประเทศจะนําไปปรับใช้ให้เหมาะกับยุทธศาสตร์การลงทุนด้านการเกษตรของตนเอง ดังนั้นการเข้าใจถึง

               รูปแบบของการลงทุนที่เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ จะมีส่วนสําคัญช่วยให้การออกแบบแนวปฏิบัติตาม

               หลักการ RAI  ของประเทศไทยเพื่อรองรับการลงทุนจากนักลงทุนไทยและต่างชาติเป็นไปอย่างรอบคอบและมี
               ประสิทธิภาพมากขึ้น

                       จะเห็นได้ว่า การเลือกหรือออกแบบรูปแบบธุรกิจเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่สูงอย่างเหมาะสมทั้งในแง่
               การรักษาคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศ มีความสําคัญต่อการหาทางออกจากปัญหาการบุกรุก

               พื้นที่ป่าของพืชไร่เชิงเดี่ยว และเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญในการหาแนวทางป้องกันการขยายตัวของการลงทุนภาค

               เกษตรทั้งจากของนักลงทุนไทยและต่างชาติที่ไม่รับผิดชอบต่อชุมชนและพื้นที่ที่อาจจะไปทําลายความยั่งยืน
               ของพื้นที่สูง

                       งานวิจัยฉบับนี้ต้องการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับรูปแบบการซื้อขายสินค้า

               เกษตรแบบดั้งเดิมของพื้นที่สูง ลักษณะรูปแบบธุรกิจต่างๆ ที่ชุมชนหรือเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่เลือกเพื่อ
               สร้างรายได้และแก้ไขข้อจํากัดของที่สูงที่ตนเผชิญอยู่ รวมถึงความสัมพันธ์ของลักษณะเฉพาะรูปแบบธุรกิจนั้นๆ

               กับตัวแปรที่สะท้อนความยั่งยืนในพื้นที่ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าใจถึงจุดเด่นและ
               ข้อจํากัดของรูปแบบธุรกิจและการตอบสนองของเกษตรกรในพื้นที่ลาดชัน โดยคาดหวังว่าจะสามารถแสดง

               คุณลักษณะและกลไกสําคัญที่รูปแบบธุรกิจจําเป็นต้องมีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่สูง

               1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
                       โครงการวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลัก 4 ประการคือ

                       1)  เพื่อศึกษารูปแบบธุรกิจหรือการลงทุนภาคเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่สูงของไทยในปัจจุบัน เพื่อให้
                          เข้าใจว่าแต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อจํากัดอย่างไร สามารถแก้ไขข้อจํากัดเชิงกายภาพ โครงสร้าง

                          และสถาบันที่ชุมชนในพื้นที่สูงเผชิญอยู่ได้อย่างไร

                       2)  เพื่อศึกษาตัวแปรและข้อมูลต่างๆทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่สามารถนํามาใช้
                          วิเคราะห์ความยั่งยืนของพื้นที่สูง

                       3)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของรูปแบบธุรกิจกับตัวแปรต่างๆ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม

                          และสิ่งแวดล้อมที่สะท้อนความยั่งยืนของการเกษตรในพื้นที่สูง
                       4)  เพื่อระบุคุณลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่ควรส่งเสริมเพื่อนําไปสู่ความยั่งยืนในพื้นที่สูงได้




                                                           1-5
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34