Page 31 -
P. 31

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       ผลการศึกษาสําคัญที่ทําให้ผู้วิจัยสามารถนํามาสังเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์หลักของงานนั้นมาจาก

               การพยายามตอบคําถามย่อยหลายคําถาม ดังต่อไปนี้ 1)  อะไรที่คือปัญหาสําคัญของเกษตรกรรมและธุรกิจ
               การเกษตรบนที่สูง เพราะเหตุใดเกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องติดอยู่ในกับดักการซื้อขายแบบดั้งเดิม 2)  ลักษณะ

               การเกษตรที่ต่างกันส่งผลต่อความยั่งยืนในพื้นที่สูงต่างกันอย่างไร3)  รูปแบบธุรกิจที่มารองรับแต่ละรูปแบบ

               เกษตรกรรมส่งผลต่อความยั่งยืนในพื้นที่อย่างไร 4)  ข้อดีข้อจํากัดของแต่ละรูปแบบธุรกิจในพื้นที่สูงคืออะไร
               ต่างกันอย่างไรและองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบธุรกิจแต่ละแบบ5)  รูปแบบการรวมกลุ่มใน

               การดําเนินธุรกิจเป็นอย่างไรและทิศทางการสนับสนุนกลุ่มควรเป็นอย่างไร  การตอบคําถามย่อยเหล่านี้ทําให้
               ผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์ต่อได้ว่า หลักดําเนินการที่สําคัญของธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูงควรเป็นอย่างไร และ

               นําไปสู่การสกัดนัยยะและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและปฏิบัติที่สอดคล้องและสนับสนุนหลักดําเนินการของ

               ธุรกิจการเกษตรบนที่สูงต่อไปได้
                       โครงสร้างการนําเสนอผลของการศึกษาแบ่งเป็น 9 บท โดยในบทที่ 1 แสดงที่มาและความสําคัญของ

               ปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษา และการสรุปประเด็นสําคัญจากผลการศึกษา ในบทที่ 2 นําเสนอ
               ประเด็นแนวคิดเรื่องความยั่งยืน การศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรที่ยั่งยืน และตัวแปรที่ใช้แสดงความยั่งยืนทั้งใน

               มิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม บทที่ 3 นําเสนอผลจากการทบทวนวรรณกรรมเรื่องรูปแบบธุรกิจที่เปิด

               โอกาสในเกษตรกรมีส่วนสําคัญในการดําเนินธุรกิจ ตัวอย่างรูปแบบธุรกิจต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ และการ
               วิเคราะห์จุดเด่นและข้อจํากัดของแต่ละรูปแบบธุรกิจบทที่ 4 กล่าวถึงรายละเอียดพื้นที่ที่ลงสํารวจทั้ง 7 พื้นที่

               ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการเกษตร รูปแบบธุรกิจ ระบบการซื้อขาย ตลาด ผลประโยชน์ที่

               เกษตรกรได้จากรูปแบบการเกษตรและรูปแบบธุรกิจที่มาแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และพืชไร่เชิงเดี่ยวอื่นๆ และ
               สรุปปัญหาจากรูปแบบธุรกิจหรือการซื้อขายที่เกษตรกรในพื้นที่สูงต้องเผชิญ บทที่ 5 นําเสนอข้อมูลเชิงสถิติ

               ของรูปแบบการเกษตรและต้นทุนหลักๆ ที่เกี่ยวข้องของแต่ละพื้นที่ ข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนที่ทําการสํารวจ
               และข้อมูลตัวแปรความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม บทที่ 6 แสดงการศึกษารูปแบบธุรกิจแบบต่างๆ

               ทั้งผลกระทบต่อตัวแปรความยั่งยืน ข้อดี ข้อจํากัด องค์ประกอบที่จําเป็น และการพัฒนารูปแบบธุรกิจแบบ

               ต่างๆ โดยใช้เครื่องมือทั้งการวิเคราะห์เชิงสถิติ เศรษฐมิติ และการพรรณนา บทที่ 7  นําเสนอการรวมกลุ่มใน
               ลักษณะต่างๆ บทบาทของกลุ่มในการรองรับแต่ละรูปแบบธุรกิจ และเงื่อนไขเบื้องต้นในการสร้างกลุ่มมา

               รองรับรูปแบบธุรกิจที่ชุมชนเลือก บทที่ 8 สังเคราะห์ผลจากบทที่ 4 5 6 และ 7 เพื่อสรุปหลักดําเนินการและ
               เงื่อนไขสําคัญสําหรับการดําเนินธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูง ตลอดจนวิธีการที่ระบบธุรกิจสามารถเลือกใช้เพื่อ

               ดําเนินตามหลักการการเกษตรบนพื้นที่สูง บทที่ 9  สรุปผลการศึกษาทั้งหมดและนําเสนอข้อเสนอแนะทาง

               นโยบายและข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติในพื้นที่รวมทั้งสรุปข้อเสนอแนะตามรายพืชและลักษณะพื้นที่














                                                           1-7
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36