Page 33 -
P. 33

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               (ทุนรวม หมายถึง ทุนทางธรรมชาติ ทุนมนุษย์ และทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น)ซึ่งแนวคิดนี้เรียกว่าเป็น Weak
                            15
               sustainability
                       จากแนวคิดด้านความยั่งยืนที่หลากหลาย สามารถสรุปประเด็นที่มีความสําคัญในด้านความยั่งยืนได้ 3

               ประเด็น ได้แก่

                       1)  การคํานึงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ (Inter-linkages)
                       2)  การใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตามพลวัต (Dynamic efficiency) และ

                       3)  การคํานึงถึงความเท่าเทียมกันระหว่างรุ่น (Intertemporal equity)
                       ในทางปฏิบัติความยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดที่กว้างและครอบคลุมหลายประเด็น เช่น การพัฒนาที่คํานึงถึง

               ผลกระทบและปฏิสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียมกันระหว่างคนรุ่นต่างๆ

               หรือกระทั่งความยืดหยุ่นในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันจากภายนอก (shock) และ
               ภาวะแรงกดดันจากภายใน (stress) หรือที่เรียกว่า resilience ซึ่งความหลากหลายคือตัวแปรสําคัญที่จะช่วย

                                          16
               สร้างความสามารถในการรับมือ (ถือเป็นส่วนหนึ่งของ dynamic  efficiency)  ทั้งนี้แต่ละแนวคิดอาจจะมี
               น้ําหนักต่างกันไปตามบริบทของเรื่องที่สนใจ

                       เมื่อนําเงื่อนไขข้างต้นมาเชื่อมโยงกับเกษตรกรรมก็จะได้ว่าการทําเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (sustainable

               agriculture)  ก็คือ การจัดการและการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรรวมถึงการกําหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงของ
               เทคโนโลยี ในลักษณะที่สร้างหลักประกันได้ว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนในยุคปัจจุบันและ

               รุ่นต่อๆ ไปในอนาคตได้ แนวทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืนจะรักษาดิน น้ํา ทรัพยากรพันธุ์พืชและสัตว์ ไม่ทําให้
                                                                                               17
               สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ และสังคมยอมรับ
                                                                18
                       ซึ่งเงื่อนไขโดยทั่วไปของการทําเกษตรกรรมที่ยั่งยืน  คือ 1)  เป็นการผลิตที่มีประสิทธิภาพ 2)  มีการ
               คืนสภาพของระบบนิเวศ 3)  ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 4)  รักษาสิ่งแวดล้อม 5)  รักษาความหลากหลายทาง
               วัฒนธรรม 6) ตอบสนองต่อความจําเป็นขั้นพื้นฐานได้

                       แนวทางที่ใช้ในการศึกษาความยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับทั่วไปมี 3 แนวทางคือ 1) การวิเคราะห์ต้นทุน-

               ผลประโยชน์ Environmental/extended cost–benefit analysis 2) multi-criteria decision
               mechanisms (MCDM) และ 3) การวิเคราะห์จากตัวชี้วัด sustainability indicator analysis โดยแนวทางที่



               14 เช่น ความยืดหยุ่นในการทดแทนกันของทุนต่างๆ ต้องมากกว่า 1

               15 อาทิSolow, 1986, 1991 และ Dasgupta and Maler, 1991
               16
                  Conway, 1985 อ้างถึงใน Edwards, 1990
               17
                 ในปี 1988 FAO Council ได้ให้คําจํากัดความเกษตรกรรมที่ยั่งยืนไว้ว่า “the management and conservation of the
               natural resource base, and the orientation of technological change in such a manner as to ensure the
               attainment of continued satisfaction of human needs for present and future generations. Sustainable
               agriculture conserves land, water, and plant and animal genetic resources, and is environmentally non-

               degrading, technically appropriate, economically viable and socially acceptable”
               18
                  Mueller, 1997
                                                           2-2
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38