Page 28 -
P. 28
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แต่การหารูปแบบธุรกิจที่สามารถสร้างความยั่งยืนในระยะยาวให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงได้นั้นไม่ใช่เรื่อง
ง่าย นอกจากรูปแบบธุรกิจนั้นต้องสามารถสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้องให้เกษตรกรแล้ว รูปแบบธุรกิจดังกล่าว
จะต้องส่งเสริมความยั่งยืนในด้านอื่นๆ และไม่ทําให้ประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านอื่นๆ เสื่อมโทรมลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่การแย่งชิงทรัพยากรที่ดินเพื่อผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานมีความรุนแรง
ขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากการลงทุนในภาคเกษตรตั้งต้นของนักลงทุนต่างชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาคแอฟริกา
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว) และละตินอเมริกา จนเป็นที่วิตกกังวลว่าการลงทุนใน
การเกษตรบางรูปแบบจะไปทําลายความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืนของท้องถิ่นหรือชุมชนผู้รับการลงทุน
ในกรณีของไทย ถึงแม้ในปัจจุบัน กฎหมายของประเทศไทยจะห้ามการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติ
และห้ามชาวต่างชาติเป็นลงทุนเป็นเจ้าของการผลิตสินค้าเกษตรตั้งต้น (ตามบัญชี 1 ใน พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจ
คนต่างด้าวปี 2542) อย่างไรก็ดี ความอ่อนแอในการบังคับใช้กฎหมาย ช่องโหว่ในเรื่องการใช้ตัวแทนในการทํา
ธุรกิจ (Nominee) ตลอดจนความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนการเกษตรโดยนักลงทุนภายนอก ทําให้
บางพื้นที่ของไทยเริ่มประสบปัญหาการเข้ามาเช่าหรือครอบครองพื้นที่ขนาดใหญ่โดยนักลงทุนต่างชาติเพื่อผลิต
ผลไม้ส่งกลับไปยังประเทศของตน เช่น ในกรณีบริษัทจีนซึ่งทําการผลิตกล้วยหอมในประเทศลาวแล้วถูกระงับ
การขยายพื้นที่ปลูกเนื่องมาจากการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นจนเกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม จึง
เข้ามาลงทุนเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่ในพื้นที่ จ. เชียงราย จํานวนกว่า 2,700 ไร่จากเอกชนเพื่อผลิตกล้วยหอม
ส่งกลับไปจีนบริษัทจ้างงานจากเกษตรกรในพื้นที่และจัดหาปัจจัยการผลิตรวมถึงให้บริการการเกษตรที่จําเป็น
ตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยวและบรรจุหีบห่อ อย่างไรก็ดี การลงทุนดังกล่าวสร้างปัญหาเรื่องการแย่งน้ําเพื่อ
การเกษตรและอุปโภคบริโภคกับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่และสร้างความกังวลให้กับประชาชนในพื้นที่ในเรื่อง
8
ผลกระทบจากสารเคมีต่อคนงานในไร่และสิ่งแวดล้อม หรือกรณีของความขัดแย้งระหว่างบริษัทเอกชนที่ทํา
เกษตรพันธะสัญญากับเกษตรกรในพื้นที่ภูทับเบิก จังหวัดเลยกับหน่วยราชการในระดับจังหวัด เนื่องมาจาก
การที่บริษัทต้องขอหนังสือรับรองเพื่อนําเข้าพันธุ์มันฝรั่งจากต่างประเทศและไม่ได้รับความเห็นชอบจาก
หน่วยงานราชการในพื้นที่ โดยหน่วยงานมีข้อกังวลเรื่องการทําสัญญาซื้อขายผลผลิตและปัจจัยการผลิตที่ขาด
การตรวจสอบจากคนกลาง การแบกรับความเสี่ยงเรื่องคุณภาพของผลผลิตและปัญหาจากการใช้สารเคมี
ปริมาณมาก อย่างไรก็ดีเกษตรกรในพื้นที่หลายรายมีความพอใจกับระบบพันธะสัญญาซึ่งประกันราคารับซื้อ
9
และใช้เป็นทางเลือกรองรับในเวลาที่ผลผลิตอื่นราคาตกต่ํา การศึกษาที่ผ่านมาจํานวนมาก เสนอข้อค้นพบที่
สอดคล้องกันว่า การลงทุนเกษตรในลักษณะการเข้าไปถือครองที่ดินขนาดใหญ่มักส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อ
ชุมชนท้องถิ่นที่รับการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่สิทธิเรื่องที่ดินของชุมชนท้องถิ่นยังขาดความ
ทายให้เกษตรกรก้าวพ้นความจน”ของสมพร อิศวิลานนท์ (2559) นําเสนอเพิ่มเติมในการประชุมนําเสนอผลงานวิจัยและรับ
ฟังความคิดเห็นของโครงการ “รูปแบบธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูงและการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ วิทยาลัยชุมชนน่าน จ.น่าน วันที่
26 ตุลาคม 2559
8
สืบค้นล่าสุดจาก http://www.thairath.co.th/content/595070 และ
http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=1717 (วันที่ 26 มี.ค.2559)
9
เช่น Poulton et al., 2008, Liu, 2014 และ Vermeulen and Cotula, 2010
1-4