Page 25 -
P. 25
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 1
บทนํา
1.1 ที่มาและความสําคัญของโครงการ
พื้นที่ป่าทั้งหมดของไทยมี 102.24 ล้านไร่และมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ป่าทั้งหมดอยู่เขต
1
ภาคเหนือ ซึ่งโดยมากเป็นพื้นที่สูง ภูเขา พื้นที่ต้นน้ํา โดยน่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่
สูงมากกว่าร้อย 80 ของพื้นที่จังหวัด ประชากรที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงมีมากกว่าหนึ่งล้านคน และพื้นที่ของการ
ตั้งชุมชนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ํา อยู่ในเขตป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติ ทําให้การทําการเกษตรบนพื้นที่
สูงโดยมากเป็นการดําเนินการในพื้นที่ที่มีคุณค่าทางนิเวศสูงและเปราะบาง ความเสียหายที่เกิดกับพื้นที่สูงส่ง
ผลกระทบในวงกว้างต่อทั้งชุมชนต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา
ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา วิกฤตป่าต้นน้ําทางภาคเหนือของไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการบุก
2
รุกพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดน่าน การปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่ชันเป็นสาเหตุสําคัญของการพังทลายของหน้าดิน อีกทั้งการเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยและ
สารเคมีเพราะต้องการให้ได้ผลผลิตในปริมาณมากนําไปสู่ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ต้นน้ํา ปัญหาที่เกิดขึ้นมี
ที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ตามความต้องการใช้
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่ส่งสัญญาณที่ผิดและการ
บังคับใช้กฎหมายด้านป่าไม้ที่ขาดประสิทธิภาพ ยิ่งทําให้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
เป็นภาวะลุกลาม
อย่างไรก็ดี การศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การขยายตัวของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่รวดเร็ว
กลับไม่ทําให้เกษตรกรในพื้นที่สูงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีต้นทุนต่อไร่สูงมาก
ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่จึงต่ํามากเมื่อเทียบกับพืชหลายชนิด เกษตรกรอยู่ในกับดักหนี้สินจากการกู้ปัจจัยการ
ผลิตต้นทุนสูง สุขภาพเสื่อมโทรมจากปริมาณสารเคมีที่ใช้และการปนเปื้อนของสารเคมีและสารตกค้างใน
สิ่งแวดล้อม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงเป็นตัวเลือกที่ทําลายความยั่งยืนในทุกมิติของพื้นที่สูง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ
3
สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกทั้งที่ได้ผลตอบแทนน้อย
และต้นทุนสูงมากเป็นผลมาจากลักษณะของพืชที่สามารถปลูกได้ง่ายและที่สําคัญคือระบบตลาดที่มารองรับ
ผลผลิตข้าวโพดสามารถแก้ปัญหาของข้อจํากัดนานัปการของพื้นที่สูงได้ เช่น พื้นที่อยู่ห่างไกลตลาด ต้นทุน
1 ข้อมูลจาก สํานักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้
2
จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2557 จังหวัดน่านซึ่งมีพื้นที่ร้อยละ 85 เป็นพื้นที่ต้นน้ํา กลายเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
817,042 ไร่ (คิดเป็นประมาณร้อยละ 12 ของพื้นที่จังหวัด) มากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ และเป็นพื้นที่ที่เผชิญวิกฤต
ป่าต้นน้ําอย่างรุนแรง (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)
3
เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน, 2558
1-1