Page 26 -
P. 26

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               ขนส่งสูง ข้อจํากัดด้านน้ํา ข้อจํากัดด้านสิทธิ์ในที่ดินทํากิน ข้อจํากัดเรื่องผู้รับซื้อ ข้อจํากัดด้านเงินลงทุน

               ข้อจํากัดด้านความรู้เรื่องพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ เป็นต้น
                       ในการพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงแนวทางการพัฒนาที่สําคัญและ

               ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือ หลักการพอเพียง ของ “ทฤษฎีใหม่” ตามแนวพระราชดําริ ได้แก่ การพอ

               อยู่ พอกิน พอใช้ หรือการให้ความสําคัญกับการผลิตเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภคในครัวเรือนและแลกเปลี่ยน
               ในชุมชนเป็นหลักก่อนที่จะขายหรือส่งผลผลิตที่เหลือเข้าสู่ตลาด จะมีผลโดยตรงต่อการสร้างความเข้มแข็ง

               ภูมิคุ้มกัน และเป็นรากฐานที่สําคัญในการพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรในพื้นที่สูงที่มีความเสียเปรียบเชิง
               ตลาดเนื่องจากข้อจํากัดทางกายภาพ อยู่ห่างไกล มีต้นทุนค่าขนส่งสินค้าแพงกว่าพื้นที่ทั่วไป

                       ในจังหวัดน่านเองมีตัวอย่างของพื้นที่ที่สามารถลด/เลิกการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้โดยยึดการ

               ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการผลิตข้าวให้เพียงพอกับการบริโภคในครัวเรือนและการสร้าง
               ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่เป็นแรงจูงใจเบื้องต้นในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน เช่น หมู่บ้านน้ํามีด ใน

               พื้นที่ อ.เชียงกลาง จ.น่านซึ่งมีพื้นที่ป่าที่คนในหมู่บ้านช่วยกันดูแลถึง 40,000 ไร่ และมีอีกหลายพื้นที่ที่องค์กร
               พัฒนาทั้งโครงการหลวง โครงการในการดูแลของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง โครงการในการดูแลของ

               มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง มูลนิธิปิดทองหลังพระ ได้น้อมนําแนวทางในพระราชดําริเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรและ

               ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่สูงและประสบผลสําเร็จในการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร
               เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การพัฒนาเหล่านี้ใช้เวลา บุคลากร ความรู้ งบประมาณและการจัดการเชิงพื้นที่ในการ

               แก้ไขข้อจํากัดต่างๆ เพื่อให้นําไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว

                       นอกจากหลักการพอเพียงแล้ว การพัฒนาด้านการตลาดและการขายผลผลิตซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ของ
               เกษตรกรเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสําคัญที่จะทําให้เกษตรกรสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการปลูกพืชไร่ในพื้นที่
                    4
               สูงได้   ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่สูงของไทยยังอยู่ในระบบการขายผลผลิตแบบดั้งเดิม มีพ่อค้าเข้า
               มารับซื้อที่พื้นที่ และเกษตรกรต่างคนต่างขายผลผลิตให้กับพ่อค้า ทําให้เกษตรกรประสบปัญหาขาดอํานาจ

               ต่อรองในการขายผลผลิต เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอและไม่แน่นอน ทําให้เกษตรกรยังคงต้องติดอยู่ในวังวน

               การปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวที่นําไปสู่ปัญหาความไม่ยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
                                                                                                     5
                       การหาทางออกหรือแก้ปัญหาวิกฤตป่าต้นน้ําอย่างยั่งยืนจะต้องคํานึงถึงทั้งรูปแบบการเกษตร และ
                           6
               รูปแบบธุรกิจ ของพืชที่จะมาทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป รูปแบบการเกษตรและรูปแบบธุรกิจที่


               4 เป็นไปตามหลักการ “ทฤษฎีใหม่” ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่แบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่ 1) ความ
               พอเพียง 2) การรวมกลุ่ม และ 3) การสร้างเครือข่าย
               5
                คําว่า“รูปแบบการเกษตร”หรือ“ลักษณะการเกษตร”  ที่ใช้ในงานวิจัยฉบับนี้หมายถึงลักษณะการทําการเกษตรหรือการผลิต
               ผลผลิตในพื้นที่ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขายผลผลิต ลักษณะการเกษตรที่ศึกษาในงานวิจัยฉบับนี้แบ่งออกเป็น การปลูกพืช
               ยืนต้นเชิงเดียว (มะม่วง) การปลูกพืชยืนต้นแบบวนเกษตร (กาแฟ) การปลูกพืชผสมผสานทั้งในและนอกโรงเรือน การปลูกพืช
               ในโรงเรือนเป็นหลัก และการปลูกเมล็ดพันธุ์
               6 คําว่า “รูปแบบธุรกิจการเกษตร” ในงานวิจัยฉบับนี้หมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบการขายผลผลิตของเกษตรกร โดยเน้นไปที่

               ระบบการจัดการการขายผลผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ รูปแบบธุรกิจการเกษตรในพื้นที่สูงที่ศึกษาในงานวิจัยฉบับนี้แบ่ง

                                                           1-2
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31