Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                         บทที่ 2

                                ตัวชี้วัดความยั่งยืนด้านเกษตรและรูปแบบการเกษตรบนที่สูง



                       ขอบข่ายการทบทวนวรรณกรรมของบทนี้จะเริ่มจากประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาและคําจํากัด
               ความของความยั่งยืนด้านเกษตร ตัวชี้วัดความยั่งยืนด้านเกษตรที่นิยมใช้โดยทั่วไป ช่องว่างในวรรณกรรมที่ยัง

               ต้องการการศึกษาเพิ่มเติม ประเด็นความท้าทายของการสร้างความยั่งยืนในพื้นที่สูงรวมไปถึงรูปแบบ
               การเกษตรที่นําไปสู่ความยั่งยืนในพื้นที่ชัน ซึ่งประเด็นสุดท้ายเป็นประเด็นที่มีงานศึกษาความยั่งยืนด้านเกษตร

               จํานวนมากมารองรับและผลศึกษามีความสอดคล้องกันจนนําไปสู่รูปแบบการเกษตรที่ได้รับการยอมรับว่า

               สามารถสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่สูงได้ ทั้งนี้ ในบทนี้ผู้วิจัยจะจํากัดการอภิปรายอยู่ในส่วนของรูปแบบ
               การเกษตรที่ยั่งยืนโดยจะเว้นเรื่องรูปแบบธุรกิจที่มารองรับผลิตผลทางการเกษตรไว้เพื่อกล่าวถึงโดยละเอียดใน

               บทถัดไป


               2.1 ความยั่งยืนด้านเกษตรและตัวชี้วัด

                       แนวคิดด้านความยั่งยืนได้มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เรื่อยมาจนกระทั่งในปี 1987
               ได้มีรายงาน Brundtland Report (1987)ซึ่งได้นิยามการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้ว่าเป็น “การพัฒนาที่สามารถ

               ตอบสนองความต้องการของคนในปัจจุบันโดยไม่ได้ลดหรือจํากัดโอกาสหรือความสามารถในการตอบสนองต่อ

               ความต้องการของคนในรุ่นถัดไป (Sustainable development is development that meets the needs
               of the present without compromising the ability of future generations to meet their own

               needs)”  โดยนิยามดังกล่าวเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คํา
               จํากัดความดังกล่าวเป็นคําจํากัดความที่ค่อนข้างกว้าง โดยเฉพาะประเด็น “ไม่ลดหรือจํากัดโอกาสหรือ

               ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของคนในรุ่นถัดไป”  ว่าหมายความว่าอย่างไรและครอบคลุม

               ประเด็นใดบ้าง รวมทั้งยังไม่ได้พูดถึงแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนว่าจะทําได้อย่างไร
                       ในทางวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ได้พยายามแปลและอธิบายความหมายของความยั่งยืนในหลายมิติ

               โดยส่วนใหญ่แล้วแปลเงื่อนไขการตอบสนองความต้องการของคนในรุ่นถัดไปไว้ใน 2 ลักษณะ ลักษณะแรกมอง
               ว่า ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้หากว่าทุนทางธรรมชาติ (Natural capital) ไม่ลดลง นั่นคือคนรุ่นถัดไปมีทางเลือก

                                                                                                  12
               ในการใช้ทรัพยากรได้เหมือนกับคนรุ่นปัจจุบัน แนวคิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Strong sustainability ส่วนนัก
               เศรษฐศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่า ความยั่งยืนหมายถึงการที่สวัสดิภาพของคนรุ่นถัดไปจะไม่ลดลง เช่นที่นัก
               เศรษฐศาสตร์ชื่อดัง Solow  ได้กล่าวไว้ว่า “… what we are obligated to leave behind is a

               generalized capacity to create well-being, not any particular thing or any particular natural
                         13
                                                      14
               resource” ซึ่งภายใต้สมมติฐานบางอย่างนั้น  ความยั่งยืนในความหมายนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อทุนรวมไม่ลดลง

               12 ดู Pearce et al., 1989 และ Pearce et al., 1994

               13
                  Solow, 1991
                                                           2-1
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37